เอกชน เข้มแผนจัดการน้ำ รับมือภัยแล้งแบบยั่งยืน
[/p]
เดิมบริษัทฯ ได้ทิ้งน้ำในส่วนนี้ไปโดยเปล่าประโยชน์จึงมีแนวคิดนำน้ำกลับมาใช้ให้มากสุด โดยในปี 2558 ระบบ RO ทำให้บริษัทฯสามารถนำน้ำกลับมาได้ 904,842 ลูกบาศก์เมตรคิดเป็น 36.8% ของน้ำทิ้งจากโรงงาน โดยส่วนใหญ่จะนำกลับไปใช้ในระบบหล่อเย็นของโรงงาน จากเดิมที่ต้องทิ้งน้ำทั้งหมด
“ PTTGC มีแผนบริหารจัดการน้ำทั้งภายในและนอกองค์กร โดยมุ่งเน้นการดำเนินการตาม 3 แนวทางหลัก ได้แก่ 1) Water Saving เป็นการดำเนินการลดปริมาณการใช้น้ำตามหลักการ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) เพื่อใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 2) Water Innovation เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาขาดแคลนน้ำดิบ และลดการใช้น้ำ แหล่งเดียวกับชุมชน โดยการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล 3) Water Stewardship เพื่อประเมินการใช้น้ำทั้งทางตรงและทางอ้อมตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยจัดทำรอยเท้าน้ำ หรือ Water Footprint พร้อมทั้งได้ตั้งเป้าหมายลดปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลง 10% จากการดำเนินงานตามปกติ ภายในปี 2566 เทียบกับปี 2556 เพื่อให้การใช้ทรัพยากรน้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
แผนการบริหารจัดน้ำภายนอกองค์กร ซึ่งเป็นแผนระยะยาว ได้ร่วมกับกลุ่ม ปตท. (PTT Group Water Management Team: PTTWT) ที่จะมีคณะทำงานในการประเมินร่วมกันทุกไตรมาสเพื่อติดตาม สถานการณ์น้ำภาคตะวันออก รวมถึงวิเคราะห์และจัดทำแผนงานการบริหารจัดการน้ำในภาพรวมของ กลุ่ม ปตท. ซึ่งรวมถึงแผนการอนุรักษ์น้ำ (Water Conservation) ในโครงการเพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ เช่น โครงการฟื้นป่า รักษ์น้ำเขาห้วยมะหาด การมอบถังน้ำสะอาด InnoPlus ให้กับผู้ประสบภัยแล้ง เป็นต้น” นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTGC กล่าว
[b]นี่เป็นเพียงตัวอย่างของการบริหารจัดการน้ำจากภาคเอกชน ซึ่งเชื่อว่าขณะนี้บริษัทใหญ่ๆ หลายแห่งได้มีการดำเนินงานเช่นเดียวกันนี้เพื่อที่จะลดปริมาณการใช้น้ำลง ซึ่งกำลังกลายเป็นกระแสโลกที่มุ่งเน้นการต้อนรับสินค้าที่มีส่วนลดการใช้น้ำทั้งทางตรงและทางอ้อม[/b]
เอกชน เข้มแผนจัดการน้ำ รับมือภัยแล้งแบบยั่งยืน