จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ราคาถูกกว่านำเข้า
[b]หมอเวชศาสตร์ฟื้นฟู เผย ใช้หุ่นยนต์บำบัดผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ผลดี คณะแพทย์ - วิศวะ จุฬาฯ จับมือสร้างหุ่นยนต์ฟื้นฟูแล้ว 3 ตัว ราคาถูกกว่านำเข้า เร่งทำวิจัยในมนุษย์คาดเริ่มได้กลางปี 59[/b]
วันที่ (1 มี.ค.) [b]นพ.วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า[/b] โรคหลอดเลือดในสมองมักพบในผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่ปัจจุบันพบได้ในคนอายุน้อยลง ประมาณ 35 - 40 ปี เนื่องจากลักษณะการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป [b]โดยสามารถพบได้ร้อยละ 2 ของประชากร แต่หากเป็นผู้พิการจะพบได้มากถึงร้อยละ 10 ทั้งนี้ ผู้ที่มีปัญหาเส้นเลือดในสมองแตก หรือตีบ ทำให้มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพฤกษ์ อัมพาตครึ่งซีก จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูบริหารกล้ามเนื้อในจุดที่อ่อนแรง[/b] ซึ่งที่ผ่านมามีการใช้นักกายภาพบำบัดเป็นผู้ดูแล แต่จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศพบว่า[b]การใช้หุ่นยนต์ในการทำกายภาพบำบัดเทียบกับการใช้นักกายภาพบำบัดในเวลาเท่ากันหุ่นยนต์จะให้การฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยดีกว่า[/b]
[b]นพ.วสุวัฒน์ กล่าวว่า[/b] ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจึงได้ร่วมกับ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องยนต์ ในการพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยทำกายภาพบำบัดผู้ป่วย และ[b]มีการทดลองนำร่องในผู้ป่วย 5 ราย โดยใช้หุ่นยนต์ทำกายภาพเป็นเวลา 30 นาที โดยนักกายภาพบำบัดอีก 30 นาที และอีกลักษณะหนึ่งคือการใช้นักกายภาพบำบัด 1 ชั่วโมง หุ่นยนต์อีก 30 นาที เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวช่วงหัวไหล่ ข้อศอก เป็นระยะเวลา 20 ชั่วโมง[/b] ผลก็พบว่าผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้ดี แต่ยังไม่สามารถวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ และขณะนี้อยู่ระหว่างทำการวิจัยในมนุษย์ กลุ่มตัวอย่าง 60 คน ซึ่งจะใช้เวลาในการวิจัยและเก็บข้อมูลประมาณ 1 ปีครึ่ง ซึ่งคาดว่าน่าจะสามารถเริ่มโครงการได้ภายในกลางปีนี้
คณะแพทย์ - วิศวะ จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์