เปิดโลกมืดผ่านหนังสือ 'อ่าน-เขียนอย่างไร' รูปแบบอักษรเบรลล์
[b]พงษ์ศักดิ์ ศิริวงษ์ เลขาธิการราชบัณฑิตยสภากล่าวถึงหนังสืออักษรเบรลล์ที่จัดทำขึ้นว่า[/b] การดำเนินการครั้งนี้เป็นภารกิจของเราซึ่งส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องของภาษา โดย[b]โครงการเตรียมจัดทำ พจนานุกรมอักษรเบรลล์ แต่ก่อนจะดำเนินการจัดทำพจนานุกรมเบรลล์สมบูรณ์แบบ ได้จัดทำ หนังสืออักษรเบรลล์ อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (แก้ไขเพิ่มเติม) เป็นครั้งแรก[/b]
“หนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือใช้ภาษาไทยของคนทั่วไปได้ดีเล่มหนึ่ง ที่ผ่านมาจัดพิมพ์เผยแพร่มาแล้วหลายครั้ง จากที่กล่าวนอกจากช่วยเหลือด้านภาษาให้กับคนทั่วไป ทั้งเด็กนักเรียน นิสิต นักศึกษา ฯลฯ [b]ยังขยายการเข้าถึงไปยังผู้ที่มองไม่เห็น โดยหนังสือเล่มนี้มีความสำคัญเป็นหลักให้กับผู้อ่าน เขียนภาษาไทยถูกต้อง” [/b] การอ่านภาษาผิดไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับเด็กนักเรียน นักศึกษา ฯลฯ [b]ในหนังสือเล่มนี้จะมีคำที่ใช้ผิดบ่อยในชีวิตประจำวันซึ่งรวบรวมไว้ อาทิ[/b] ภาพยนตร์ มักเขียนเป็น ภาพยนต์ ขโมย เขียนเป็น โขมย แก๊ง เขียนเป็น แก๊งค์ ฯลฯ ให้คำอธิบาย เสนอวิธีการอ่าน การเขียนที่ถูกต้อง การอ่านตัวเลข เครื่องหมายต่าง ๆ ฯลฯ โดยรวบรวมเป็นหนังสือเล่มเล็ก ๆ แต่ในทุกหน้าครบด้วยคุณค่า
[b]เมื่อนำมาจัดทำเป็นหนังสือเบรลล์สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น คนตาบอดได้เข้าถึง การจัดทำอยู่ใน โครงการรู้ รัก ภาษาไทย เป็นโครงการหลักของราชบัณฑิตในการเผยแพร่ภาษาไทยสู่สังคมและที่ผ่านมาเรามีหลายโครงการที่จัดทำขึ้น[/b] ดร.ชลธิชา สุดมุข นักวรรณศิลป์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าโครงการฯร่วมให้ข้อมูลกล่าวเพิ่มอีกว่า ในด้านเนื้อหา สกัดสิ่งที่จำเป็น ควรรู้ อ่านเขียนอย่างไรให้ถูกต้อง ซึ่งเนื้อหาที่จัดทำเหมือนกับหนังสือเล่มสำหรับคนทั่วไปทุกประการ
“ผู้บกพร่องทางการมองเห็น โอกาสที่จะได้อ่าน เรียนรู้ในสิ่งที่เขาสนใจ บางครั้งอาจเข้าไม่ถึง ด้วยที่อ่านไม่เห็นด้วยตนเอง ต้องพึ่งพาครู คนใกล้ตัวที่สายตาดีช่วยสืบค้น อ่านให้ฟังและแม้จะมีแอพพลิเคชั่นช่วยการอ่าน การเขียนทำให้เข้าใจรับรู้ได้จากการได้ยิน แต่อย่างไรแล้ว[b]ก็ไม่เท่ากับการมีอักษรเบรลล์ให้อ่านสัมผัส โครงการฯจึงดำเนินการจัดทำหนังสือเบรลล์เล่มแรกขึ้น ก่อนจัดทำพจนานุกรมอักษรเบรลล์ต่อไป” [/b]
[b]หนังสืออักษรเบรลล์จะแบ่งออกเป็น 4 เล่ม ขยายจากหนังสือเล่มปกติ ทั้งนี้ 1 หน้า[/b]ปกติจะเท่ากับ 3-4 หน้า เบรลล์ โดยรูปแบบของหนังสือ หนึ่งหน้าจะมี 25 บรรทัด บรรทัดละ 40 เซล ใช้อักษรเบรลล์ระดับ 1 เข้ารูปเล่มหนังสือแบบสันขดลวด [b]โดยรวมทุกเล่มอยู่ในชุดเดียวกัน บรรจุกล่องที่มีขนาดพอดีกับหนังสือ[/b] นอกจากนี้ จัดทำดีวีดีไฟล์อักษรเบรลล์ หนังสืออ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (แก้ไขเพิ่มเติม)จัดส่งไปพร้อมกัน
[b] “หนังสืออักษรเบรลล์ ที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจัดทำ เราให้ทางศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาคนตาบอด มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นผู้จัดพิมพ์[/b] โดยหนังสือจะส่งไปยังสถานศึกษาที่มีผู้บกพร่องทางการมองเห็น ศูนย์การศึกษาพิเศษ และโรงเรียนเฉพาะความพิการ โดยคาดว่าจะผลิตแล้วเสร็จพร้อมแจกจ่ายส่งไปถึงหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศช่วงเดือนเมษายน”
พจนานุกรมอักษรเบรลล์ สำหรับคนพิการทางสายตา