มาตรการลดต้นทุน เพิ่มโอกาสการแข่งขันนำเกษตรกรไทยพ้นวิกฤติ
[/p]
จริยา สุทธิไชยา
นางสาวจริยา สุทธิไชยา รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เพื่อให้การ
ขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีอยู่ 6 เรื่องหลัก ได้แก่ การลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสการแข่งขันสินค้าเกษตร การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (โซนนิ่ง) ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรอินทรีย์ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และธนาคารสินค้าเกษตรมีความชัดเจนมากขึ้น ทางกระทรวงเกษตรฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แบบเบ็ดเสร็จ (Single Command) เพื่อเป็นกลไกในการบูรณาการขับเคลื่อนนโยบาย ไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สำหรับมาตรการลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญ และขณะนี้เห็นผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ประการแรกคือ การลดต้นทุนราคาปัจจัยการผลิต ทั้งค่าปุ๋ยเคมี สารเคมี โดยได้รับความร่วมมือจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ที่ประกาศลดราคาปัจจัยการผลิต ปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ ที่มีความจำเป็นในการเพาะปลูกพืช โดยเฉพาะข้าว มันสำปะหลัง ยางพาราและปาล์มน้ำมัน ลดมาจากปกติ 5-10% ประการที่สอง ลดต้นทุนค่าพันธุ์พืช โดยกรมการข้าวได้ประกาศลดราคาจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวจากราคาเดิมลงมาอีก 1 บาทต่อ กก. ประการที่สาม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้ลดค่าเช่าที่ดิน ยกเว้นการเก็บค่าเช่าที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเป็นเวลา 1 ปี ขยายเวลาการชำระหนี้และลดอัตราดอกเบี้ย จาก 4% เหลือ 2%
นอกจากนี้ จากการประชุมคณะทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการคลัง เรื่องการลดค่าเช่าที่นา ซึ่งแต่เดิมกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการลดค่าเช่าที่นาให้ถูกลงเหลือ 800-1,000 บาทต่อไร่ โดยเบื้องต้นมีความเห็นว่าอาจจะสามารถลดค่าเช่านาลงให้ต่ำกว่าปัจจุบัน เนื่องด้วยเกษตรกรหลายพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง บวกกับภาวะเศรษฐกิจโลกทำให้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ซึ่งค่าเช่าที่นา เป็นต้นทุนอย่างหนึ่งที่เกษตรกรต้องแบกรับ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลการคิดค่าเช่านาที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละพื้นที่ เพื่อส่งข้อมูลให้กับกระทรวงมหาดไทยพิจารณาปรับลดค่าเช่าที่นาต่อไป
มาตรการลดต้นทุน เพิ่มโอกาสการแข่งขันนำเกษตรกรไทยพ้นวิกฤติ