เสียงร้องที่เริ่มแผ่ว...จากนักกีฬาคนพิการ
[b]การแข่งขันระดับนี้ไม่ใช่ทัวร์นาเมนต์อาชีพ ดังนั้นจึงไม่มีเงินรางวัลเพื่อที่จะนำมาใช้ต่อยอด ขณะที่รัฐบาลก็ไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าที่ควร[/b] ทำให้ได้รวมตัวไปร้องเรียนต่อ การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เพราะเริ่มมีบางคนที่ต้องตัดสินใจเพื่อปากท้องโอนสัญชาติไปเล่นให้ชาติอื่น อาทิญี่ปุ่นที่มีสวัสดิการและค่าตอบแทนมากกว่า
[b]เรวัตร์ ต๋านะ เจ้าของแชมป์โลกวีลแชร์ เรซซิ่ง 1,500 และ 5,000 เมตร ที 54 ที่คว้าโควตาไปแข่งขัน พาราลิมปิก เกมส์ 2016 ที่ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เรียบร้อยแล้วนั้น เผยถึงความน้อยใจที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมในฐานะนักกีฬาที่มีธงชาติไทยอยู่บนอก[/b] แต่ด้วยความที่อยากรับใช้แผ่นดินเกิด ทำให้เจ้าตัวยอมควักทุนตนเองเพื่อฝึกซ้อม ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ต่อเดือน เดินทางไปฝึกซ้อมที่จังหวัดนครราชสีมา และดูแลค่าที่พัก อาหารการกินเองทั้งหมด นอกจากนี้[b]ได้อาศัยประกอบอาชีพขายลอตเตอรีควบคู่ไปด้วยซึ่งก็มีรายได้เพียง9,000บาทเท่านั้น[/b]
จนถึงวันนี้[b] เรวัตร์ ต๋านะ วัย 40 ปี ระบายความในใจว่า[/b] "เมื่อปี 2012 นักกีฬาพิการได้รับเงินรางวัลชิงแชมป์โลกเพียง 50,000 บาท ในขณะที่นักกีฬาปกติจะได้รับ 1 ล้านบาท ทั้งที่เป็นนักกีฬา ต้องฝึกซ้อม แข่งขันเหมือนกันแต่เห็นชัดเจนว่าความเท่าเทียมของคนพิการมันมีค่าไม่เท่ากับคนปกติ"
จุตินันท์ (ซ้าย) แบกภาระทั้งหมดไม่ไหว