"สะโพกหัก" อันตรายของผู้สูงอายุ เสี่ยง "อัมพาต-โรคติดเชื้อ" ถึงตายได้...
[b]“การเกิดสะโพกหัก มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากโรคแทรกซ้อนมากขึ้น จากประสบการณ์ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักส่วนใหญ่เกินกว่า 90% ถ้าไม่ได้รับการผ่าตัดมักจะเดินไม่ได้” [/b] คุณหมอสมบัติบอกและว่า อันตรายจากโรคแทรกซ้อนในกระดูกสะโพกหัก เริ่มจากผู้ป่วยต้องนอนเฉยๆ ลุกไม่ได้ จึงมักจะเจอกับปัญหาแผลกดทับ [b]นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อน บางคนลุกไม่ได้ ต้องใส่สายปัสสาวะค้างไว้ เกิดอุจจาระเลอะเทอะ เพิ่มโอกาสติดเชื้อในท่อทางเดินปัสสาวะ และภาวะที่ต้องนอนเฉยๆ อาจทำให้การกินอาหารลำบาก เสี่ยงต่อการสำลัก[/b] นั่งสูงไม่ได้ ปอดไม่ขยายตัว เพิ่มโอกาสปอดชื้น ปอดติดเชื้อได้ในรายที่เป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน อาการก็อาจจะกลับกำเริบได้
“ถ้ามือหรือแขนหักใส่เฝือกได้ สันหลังหักยังกลับมาเดินได้ กระดูกสันหลังทรุดหลังจากหกล้ม 10-20% ใส่เสื้อเกราะ 2 วัน ก็ลุกจากเตียงได้แล้ว บางคนกระดูกสันหลังทรุด 50% ก็ยังกลับมาเดินได้ แต่ถ้ากระดูกสะโพกหัก โอกาสที่จะกลับมาเดินได้ไม่ถึง 90%” คุณหมอสมบัติบอก
อย่างไรก็ตาม [b]บางรายที่เป็นแค่กระดูกร้าว คุณหมอสมบัติ บอกว่า[/b] ถือว่าโชคดี เพราะกระดูกสามารถติดได้ภายในระยะเวลา 2-3 เดือน ไม่ต้องผ่าตัด ถ้ากระดูกสะโพกหักแล้วได้รับการผ่าตัดเร็ว ผู้สูงอายุก็จะฟื้นตัวเร็ว ความเจ็บปวดน้อย สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงเดิมได้เร็ว แต่ก็มีบ้างบางกรณีที่ผู้ป่วยมีกระดูกร้าว มาวันแรกเดินได้ เอกซเรย์กระดูกครั้งแรกมองไม่เห็น
กระดูกร้าวเนื่องจากกระดูกเป็นรอยร้าวเล็กๆ ไม่ถึงขั้นแตกหัก แต่กระดูกพรุนมาก ความหนาแน่นกระดูกน้อย เพราะฉะนั้นเอกซเรย์จะมองไม่เห็น พอเดินๆไปสัก 2-3 วัน รอยร้าวก็เคลื่อนออก เอกซเรย์อีกทีจึงจะเห็นก็เป็นไปได้ จากสถิติผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหักจะมีอัตราเสียชีวิตภายในปีแรกประมาณ 20% และ[b]เป็นต้นเหตุที่นำไปสู่ภาวะพิการทำให้เดินไม่ได้ประมาณ 40% ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการใช้ชีวิตประจำวัน 60% ภาวะเสี่ยงดังกล่าวจะลดลงถ้านำส่งโรงพยาบาลเร็ว และทางโรงพยาบาลให้การรักษาที่รวดเร็ว[/b]
คุณหมอสมบัติ ยังบอกอีกว่า [b]จากแนวโน้มดังกล่าว ได้จัดตั้งศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่ากรุงเทพขึ้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาแนวทางการรักษากระดูกหักให้มีมาตรฐานและผลการรักษาที่ดีขึ้น โดยใช้วิธีการหรือเทคนิคที่ถูกต้องในการรักษากระดูกสะโพกหักแก่ผู้สูงอายุ[/b] ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวค่อนข้างมาก และมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน และการเสียชีวิต
ภาพเอ็กซเรย์กระดูก