เลี้ยง “หมูหลุม” ทำเงิน ฝีมือชายพิการหัวใจหล่อมาก
[b]ถึงจะพิการ แต่เขาไม่เคยนำจุดอ่อนทางร่างกายมาเป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพแม้แต่น้อย ในทางตรงข้าม สนั่นกลับหมั่นเรียนรู้วิธีทำเกษตรทฤษฎีใหม่ๆ เสมอ ด้วยการสมัครเข้าโครงการพัฒนาความรู้ต่างๆ เช่น[/b] อบรมการทำธุรกิจของคนพิการ ที่จัดโดยสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)ร่วมกับสถาบันพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ISMED)
จากความขยันเพิ่มความรู้ให้ตัวเองดังกล่าว กลายเป็นโอกาสครั้งสำคัญ เพราะ[b]เมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้วมีโอกาสไปดูงานการทำฟาร์มเลี้ยงหมู ระบบ “หมูหลุม” ซึ่งเป็นวิธีเลี้ยงหมูในโรงเรือนที่จะขุดหลุมลึกลงจากพื้นดินประมาณ 20-30 เซนติเมตร แล้วใช้วัสดุธรรมชาติรองพื้น คือ[/b] แกลบ และฟาง ซึ่งวิธีดังกล่าวมีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี
สนั่นอธิบายเสริมว่า [b]การทำฟาร์มแบบหมูหลุมเป็นการจำลองระบบหมุนเวียนตามธรรมชาติ เมื่อหมูถ่ายมูลหรือปัสสาวะลงในพื้นที่รองด้วยแกลบและฟางก็จะกลายเป็นการหมัก “ปุ๋ยมูลสัตว์” ชั้นดี ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน[/b] อีกทั้งไม่มีกลิ่นเหม็นสร้างความรำคาญแก่ชาวบ้าน นอกจากนั้น ที่สำคัญการเลี้ยงระบบนี้ไม่ต้องลงไปขัดพื้นทำความสะอาดเหมือนโรงเลี้ยงที่เทพื้นด้วยปูนซีเมนต์ ช่วยประหยัดการใช้น้ำ และ[b]ลดการใช้แรงงานจึงเหมาะกับเขาอย่างยิ่งที่เป็นคนพิการ[/b]
[b] “หลังจากที่ผมได้ไปดูงานการเลี้ยงระบบหมูหลุม ผมก็เห็นว่ามันเหมาะกับผมมากๆ[/b] เพราะการเลี้ยงแบบเดิมต้องคอยทำความสะอาดพื้นเสมอ ไม่อย่างนั้นจะสกปรก และเหม็นมาก ซึ่งการต้องลงไปขัดพื้นบ่อยๆ ไม่ค่อยสะดวกสำหรับผม ในขณะที่[b]การเลี้ยงระบบหลุม ถ้าเราจัดระบบให้ดีแล้วจะช่วยประหยัดทั้งต้นทุนค่าใช้จ่ายและแรงงานผมเลยกลับมาปรับปรุงโรงเรือนของผมเอง”[/b]หนุ่มคนขยันเล่าและกล่าวต่อว่า
[b]การสร้างโรงเรือนระบบหมูหลุมลงทุนประมาณ 10,000 บาท[/b] เป็นโรงเรือนขนาด 6x2.5 เมตร รอบๆ ก่อด้วยอิฐบล็อก สูง 50 เซนติเมตร ส่วนพื้นขุดเป็นหลุมลงไปจากพื้นดินประมาณ 20-30 เซนติเมตร หลังจากนั้นรองพื้นด้วยฟาง และแกลบจนเต็ม ซึ่งใช้เงินซื้อแกลบและฟางประมาณ 1,000 บาทต่อครั้งในการปูพื้น ตามด้วยราดน้ำหมักชีวภาพเพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็นซึ่งในส่วนน้ำหมักชีวภาพนั้นทำขึ้นเองจึงไม่มีค่าใช้จ่าย
[b]ด้านการเลี้ยงและดูแลฟาร์มหมูหลุมนั้น สนั่นเล่าว่า ค่อนข้างสบาย[/b] ตอนเช้าประมาณ 07.00 น. จะมาให้อาหารหมู ซึ่งใช้เป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูป เช่นเดียวกับให้อาหารเย็นประมาณ 17.00 น. นอกจากนั้น[b]คอยเติมแกลบและฟางเสมอๆไม่ให้พร่องรวมถึงราดน้ำหมักชีวภาพเสมอๆป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็น[/b]
ผลพลอยได้ของการเลี้ยงระบบดังกล่าวนั้นทำให้[b]มีรายได้เสริมจากการขาย “ปุ๋ยมูลหมู” ซึ่งปัจจุบันต่อคอกจะสามารถเก็บไปทำปุ๋ยขายได้ถึง 120 กระสอบ ขายในราคากระสอบละ 40 บาท[/b] ซึ่งเจ้าตัวบอกว่าขายดีจนทำไม่พอความต้องการ
นอกจากนั้น ในส่วนการขายหมูนั้น [b]ปัจจุบันจะไม่ได้ขายหมูแรกเกิดแล้ว แต่จะเลี้ยงขุนต่อเนื่องอีก 3 เดือนจนได้น้ำหนักตัวละ 80-85 กิโลกรัม ซึ่งต้นทุนจากการเลี้ยงและค่าอาหารตกประมาณตัวละ 3,000 บาท สามารถไปขายได้ในราคาถึงตัวละ 7,000-7,600 บาท[/b] โดยเฉลี่ยแล้วจะมีหมูขายต่อรอบประมาณ 10 ตัว หรือเป็นเงินประมาณ 70,000-76,000 บาท โดยปีหนึ่งขายได้ 3-4 ครั้ง หรือ[b]คิดเป็นรายได้ต่อปีประมาณ 266,000 บาท เมื่อรวมกับรายได้การขายปุ๋ยมูลหมูแล้วเบ็ดเสร็จหักรายจ่ายต่างๆเหลือกำไรประมาณ20,000+บาทต่อเดือน[/b]
คอกหมู ของนายสนั่น