ทีมวิจัยไทยเจ๋ง เปิดโฉมเครื่องต้นแบบอ่านอักษรเบรลล์ เตรียมผลิตมอบให้คนตาบอดทั่วปท.
ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เปิดเผยว่า [b]กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตระหนักถึงความสำคัญของคนทุกกลุ่ม จึงได้สร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการพัฒนาสังคมไทยให้เข้มแข็ง ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม[/b] โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม มีหลายโครงการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เข้าไปให้การสนับสนุน ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน หน่วยงานในสังกัดของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ [b]ได้พัฒนาต้นแบบเครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ โดยใช้แสงซินโครตรอน เพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ในกลุ่มคนพิการทางสายตาได้เป็นผลสำเร็จ[/b] และได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่องค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 2 เมษายน 2558
สำหรับชุดแสดงผลอักษรเบรลล์นี้ ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิกล่าวว่า เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของคนพิการทางสายตา ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ [b]อุปกรณ์ชนิดนี้ มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดข้อมูลจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยความจำภายใน ช่วยให้คนพิการทางสายตาสามารถรับรู้ข้อมูลโลกรอบตัวได้[/b]
ปัจจุบัน[b]ชุดแสดงอักษรเบรลล์มีผู้ผลิตอยู่จำนวนหนึ่ง ที่ดำเนินธุรกิจด้านการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ[/b] ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจำนวนเซลล์มากขึ้น สอดคล้องกับหนังสือเบรลล์ที่บรรจุตัวอักษรเบรลล์ 40 เซลล์ต่อ 1บรรทัดแต่อย่างไรก็ตามราคาที่จำหน่ายย่อมสูงตามไปด้วย
นอกจากนี้ ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ กล่าวว่า [b]การใช้งานในชุดแสดงผลอักษรเบรลล์ให้สมบูรณ์นั้น ต้องทำการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น[/b] คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารที่ส่งผ่านข้อมูลได้ นั่นหมายถึงราคาในการเข้าถึงอุปกรณ์การเรียนรู้ของคนพิการทางสายตาจะเพิ่มสูงขึ้นไปอีก จากความสำเร็จในการพัฒนาชุดแสดงผลอักษรเบรลล์ 10 เซลล์ ด้วยการใช้รังสีเอ็กซ์จากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนสร้างชิ้นส่วนต่างๆ นำมาประกอบเป็นตัวแสดงผลอักษรเบรลล์ [b]โดยใช้วัสดุเพียโซอิเล็กทริก ในการขับเคลื่อนการทำงาน และส่งข้อมูลผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น นำไปสู่การพัฒนาเครื่องต้นแบบแสดงผลอักษรเบรลล์ 20 เซลล์ เพื่อเพิ่มระดับการอ่านได้อย่างต่อเนื่อง[/b]
ด้าน ดร.รุ่งเรือง พัฒนากุล วิศวกรผู้ประดิษฐ์เครื่องต้นแบบแสดงผลอักษรเบรลล์ กล่าวว่า [b]เครื่องต้นแบบแสดงผลอักษรเบรลล์ 20 เซลล์ที่พัฒนาขึ้นทำงานด้วยหลักการเคลื่อนที่ขึ้น-ลง ของจุดแสดงผลที่ซ่อนอยู่ภายในหน้าจอสัมผัส[/b] และเมื่อได้แรงดันไฟฟ้า จุดแสดงผลแต่ละจุดที่ทำงานแยกจากกันจะเคลื่อนที่ขึ้น โดยปลายด้านบนสุดจะโผล่ขึ้นเหนือหน้าจอสัมผัสประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ทำให้ปลายนิ้วสามารถสัมผัสได้ [b]การเคลื่อนที่ของแต่ละจุดจะถูกควบคุมด้วยวงจรไฟฟ้าที่มีโปรแกรมแปลงจากอักษรปกติ เป็นรหัสอักษรเบรลล์[/b] โดยเครื่องต้นแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ จะสามารถอ่านข้อมูลได้จากหน่วยความจำภายนอก เช่น SD การ์ด เป็นต้น หรือเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่ออ่านไฟล์ข้อความ
ทีมวิจัยไทย เปิดโฉมเครื่องต้นแบบอ่านอักษรเบรลล์