ตากโมเดล...!! ฝึกอาชีพ-สวนริมปิงเพื่อคนพิการ
[b] “ชมรมเรามี 40 คน จะแบ่งกลุ่มกันทำตามความถนัด[/b] ให้งานไปทำที่บ้าน แล้วนัดกันมาส่งให้อีกกลุ่มทำต่อแต่มีบางคนชำนาญแล้วทำเองคนเดียวเลยทุกขั้นตอนพอได้กระทงมากพอ ก็รวมกันไปขายตามที่ที่จัดงาน [b]ขายใบละ 150-450 บาท แล้วแต่ความยากง่ายในการทำหรือแล้วแต่ต้นทุนราคาที่แต่ละคนตั้งไว้ เช่น[/b] คนทำมาส่งราคา 200 บาท ชมรมมาตั้งขาย 300 ได้กำไร 100 เข้ากองทุนชมรม ไว้ช่วยเหลือคนพิการที่เจ็บป่วยหรือเสียชีวิต" มนตรีเล่าอย่างอารมณ์ดีและบอกถึงความรู้สึกในฐานะคนพิการคนหนึ่งว่า
หลายปีก่อนไม่กล้าออกนอกบ้านเพราะอายในความพิการของตัวเอง ตอนนั้นสังคมยังไม่ยอมรับ จึงไม่มีอาชีพอะไรอยู่บ้านเฉยๆ แต่พอมาวันนี้[b]สังคมเปิดกว้างมีหน่วยงานรัฐเข้ามาช่วยเหลือเรื่องอาชีพคนพิการ ประกอบกับมีสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ให้คนพิการมากมายจึงอยากเชิญชวนคนพิการออกจากบ้านมาทำงานให้มากขึ้น[/b] มาต่อสู้กับความอายออกมาสู่สังคม มาใช้ชีวิตในปัจจุบันแบบที่เราเป็น
นอกจากทำกระทงกะลา แล้วยังฝึกอาชีพเย็บปักถักร้อย ถักโครเชต์ [b]นำโดยกลุ่มพิการของ “นฤมล สีหมื่น” หรือ เปิ้ล คนพิการไร้แขน ที่ถักโครเชต์ด้วยเท้าทั้งสองข้างอย่างคล่องแคล่ว[/b] ทำเป็นผ้าพันคอ หมวก กระเป๋าและพวกกุญแจ จำหน่ายเป็นของที่ระลึก รวมถึง งานสานตะกร้าพลาสติก ของกลุ่มคนพิการชายสูงอายุ[b]ถือเป็นการรวมกลุ่มคนพิการตัวอย่าง ที่ออกนอกบ้านมาสร้างงาน...สร้างอาชีพ แบ่งเบาภาระครอบครัวโดยไม่อายใคร[/b]...
“เปิ้ล" บอกว่า ทำหลายอาชีพเพราะอาชีพเดียวไม่พอกินพอใช้ ต้องดูแลพ่อแม่ด้วย งานที่ทำมีทั้งกระทงกะลา ถักโครเชต์ ขายลอตเตอรี่และช่วยพี่สาวขายน้ำลำไย น้ำกระเจี๊ยบในตลาดตอนเย็น [b]ถ้าเรามีใจสู้แล้วไม่ต้องอายในสิ่งที่เป็น ส่วนเงินที่รัฐให้ 800 บาท มันก็มากนะ แต่ยังไม่พอ[/b] ซื้อกับข้าววันหนึ่งก็เกือบ 100 บาท แล้ว [b]หากเป็นไปได้อยากขอเดือนละ 1,500 บาท และอยากให้รัฐเห็นคุณค่าของคนพิการมากกว่านี้[/b]
จากการสังเกตการณ์ระหว่างทีมข่าวพูดคุยกับกลุ่มคนพิการ จ.ตาก หลายคนมีสีหน้ายิ้มแย้ม อารมณ์ดี ไม่เขินอายและเครียดกับสิ่งที่เป็น และบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า [b]คนพิการที่นี่ไม่อยู่ติดบ้าน จะออกมาสู่สังคมพบปะผู้คนโดยเฉพาะช่วงเย็น หลังจากทำงานเสร็จมักจะชวนกันไปนั่งเล่นที่ สวนสาธารณะริมปิง มีพื้นที่สำหรับคนพิการพักผ่อน[/b] ชมธรรมชาติสองฝั่งแม่น้ำเป็น ชุมชนต้นแบบเอื้อต่อการดำเนินชีวิตคนพิการ (Universal Design Community Model)
งานประดิษฐ์อาชีพเสริมสำหรับคนพิการ