'คณะภริยาทูตนานาชาติ'ร่วมรณรงค์อารยสถาปัตย์
ที่พระวิหารหลวงพ่อทองคำซึ่งเปิดให้ประชาชนเข้ามาเที่ยวชมได้ตั้งแต่ปี 2552 นี้ ได้มีการออกแบบก่อสร้างที่นอกจากจะเน้นถึงอารยธรรมอันสวยงามยิ่งใหญ่ล้ำค่าอลังการของพุทธศิลป์ไทยแล้ว [b]ศิลปินผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง คือ นาวาเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับ ยังได้ใส่อารยสถาปัตย์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆสำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ เข้าไปด้วย[/b] ซึ่งเป็นคุณประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงอีกทางหนึ่ง
[b]พระวิหารแห่งนี้ จึงมีลิฟต์อำนวยความสะดวกในการขึ้นลงพระวิหารทั้ง 4 ชั้น[/b] มีทางลาดขึ้นลงพระวิหารที่ด้านหลังองค์หลวงพ่อทองคำ [b]มีห้องสุขาอารยสถาปัตย์ที่ผู้สูงอายุ และผู้พิการสามารถใช้งานได้สะดวกสบาย[/b] ไร้กังวลอยู่หลายจุด ทั้งด้านในพระวิหารชั้นล่าง ชั้น 3 และด้านข้างพระวิหาร ตลอดจนในส่วนของพิพิธภัณฑ์ตำนานหลวงพ่อทองคำ และศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช ที่ชั้น 2 และ 3 นั้น ก็เป็นแบบ Non Step คือ [b]ไม่มีขั้นบันไดให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงเลย ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย สามารถมากราบไหว้ หรือมาเที่ยวชมองค์หลวงพ่อทองคำ และพิพธภัณฑ์ที่พระวิหารแห่งนี้ได้[/b] สะดวก ปลอดภัย ทันสมัย เป็นธรรม ทั่วถึง และเท่าเทียม
“ได้มีโอกาสมาเที่ยวชมพระวิหารนี้เป็นครั้งแรก ก็รู้สึกประทับใจทั้งในด้านความสวยงาม และความสะดวกสบาย เพราะมีเฟรนลี่ดีไซน์ คือ [b]มีอารยสถาปัตย์ให้ทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ที่ต้องใช้รถเข็น หรือเครื่องช่วยต่างๆ สามารถมาที่นี่ได้สะดวก ปลอดภัย เป็นสถานที่ตัวอย่างที่ดีมาก” [/b] มาดามทูตเดนมาร์ก คุณรัตนวิดี เหมนิธิ วินเธอร์ กล่าวถึงความประทับใจในวิหารอารยสถาปัตย์แห่งนี้
ส่วนมาดามทูตชิลี “แอนนี่ เบกเกอร์” ซึ่งขาเป็นโปลิโอตั้งแต่เด็ก เวลาไปไหนมาไหนต้องใช้ไม้ค้ำยันช่วยเดิน เธอบอกว่า [b]โดยปกติแล้ว เธอไม่สามารถไปเที่ยวชมวัดต่างๆได้ หรือถ้าไปก็ยากมาก เพราะวัดส่วนใหญ่มีแต่บันไดเต็มไปหมด จะต้องปีนขึ้น ปีนลง ยากลำบากมาก แต่ที่วิหารหลวงพ่อทองคำวัดไตรมิตรฯ ทำให้เธอรู้สึกดีมาก[/b] ในด้านมาตรฐานของอารยสถาปัตย์ที่ทำให้ได้รับความสะดวกสบายในการมาที่นี่ เป็นเรื่องที่ดีมาก ซึ่งวัด หรือศาสนสถานทุกแห่งควรทำแบบนี้ให้เยอะๆ เพราะยังมีอีกหลายที่ที่เธอไม่สามารถเข้าไปได้ เพราะบันไดเยอะมาก
นายกฤษนะ ละไล พาคณะภริยาทูตนานาชาติร่วมรณรงค์อารยสถาปัตย์ ที่พระวิหารพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร