ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่งเสริมอารยสถาปัตย์ ขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม
“จึงเป็นที่น่ายินดียิ่งที่คณะกรรมาธิการยกร่าง มีวิสัยทัศน์กว้างไกล คำนึงถึงหลักสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค เคารพเกียรติศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ได้ตระหนักและเล็งเห็นคุณค่าความสำคัญในเรื่องนี้ [b]จึงได้บรรจุคำว่า “อารยสถาปัตย์” (Friendly Design) ซึ่งหมายถึงหลักการออกแบบที่มีความเป็นสากล คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสาร ผลิตภัณฑ์ ตึกอาคาร สถานที่ บริการสาธารณะ ระบบขนส่งมวลชน ที่ทำให้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกประเภทความพิการ สามารถเข้าถึงได้ ใช้ประโยชน์ได้ โดยสะดวก ปลอดภัย และเป็นมิตรไมตรี ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในมาตรา 295 (2) [/b] อันเป็นสาระสำคัญที่จะนำไปสู่ “สังคมที่เป็นธรรม” และ “การสร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่” นี่คือเนื้อหาส่วนหนึ่งในแถลงการณ์ที่ตัวแทนภาคีเครือข่ายเพื่อนคนพิการยื่นต่อประธานคณะกรรมาธิการยกร่างในวันนั้น
ในช่วงท้ายของแถลงการณ์ยังได้ยืนยันความถูกต้องดีงามของหลักการออกแบบที่จะช่วยทำให้ ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกประเภทความพิการ สามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ โดยสะดวก ปลอดภัย ทันสมัย เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียม ทั่วไทย [b]อีกทั้งยังขอความร่วมมือไปยังทุกภาคส่วนในสังคมให้เห็นความสำคัญจำเป็นของอารยสถาปัตย์ที่จะช่วยขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม นำสังคมไทยสู่สังคมอารยะที่เห็นคุณค่าในสิทธิมนุษยชน เป็นสังคมวิถีไทยที่มีความเป็นสากลและเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลในระดับโลก[/b] เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่คนไทยมากขึ้นอีกทางหนึ่ง
ด้าน ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวถึงคำ[b]ว่า "อารยสถาปัตย์" ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า “อารยสถาปัตย์” กับ “พลเมือง” มีลักษณะคล้ายกัน คือ[/b] ไม่ใช่วาทกรรม เพียงเพื่อให้ดูเท่ หรือ เก๋ แต่ 2 คำนี้ บอกนัยสำคัญที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในความคิดและการกระทำในชาติบ้านเมืองของเรา
“อารยสถาปัตย์ คือการเปลี่ยนความคิด สังคมไทยเป็นเมืองพุทธ แต่คนจำนวนหนึ่งกลับมองว่าคนพิการและคนแก่ควรอยู่บ้านเฉยๆ ไม่ควรออกจากบ้านไปไหน หากเจอพวกเขาออกมาเดินข้างนอก ก็พูดอีกว่าไม่เจียมตัว ยังจะออกมาเดินเหมือนคนอื่น ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่มีมนุษยธรรม ซึ่ง[b]ฝรั่งกลับเห็นว่าคนเหล่านี้ก็มีเกียรติศักดิ์ศรีความเป็นคนเท่ากับคนปกติทุกอย่าง เราจึงต้องพยายามช่วยกันทำให้เขาใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ[/b] เราจึงควรออกแบบตึกอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ อย่าไปคิดแบบมองไม่เห็นความทุกข์ของคนอื่น”
กฤษนะ ละไล พร้อมกลุ่มภาคีเครือข่ายจิตอาสา เพื่อนคนพิการ ผู้สูงอายุ และเยาวชนทูตอารยสถาปัตย์