แก้ไข ‘โครงกระดูกใบหน้า’ ไม่ต้องผ่าตัด ช่วยรักษาความพิการ-เสริมความงาม
จากผลงานวิจัยของ Dr.Kotaro Yoshimura และทีมศัลยแพทย์ตกแต่งชาวญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยโตเกียว [b]ได้ทำการศึกษาในคนญี่ปุ่น 63 คน โดย 51 คนฉีดรักษาเพื่อความงาม อีก 12 คนฉีดรักษาความผิดปกติของโครงกระดูกหน้า จากนั้นติดตามผลการรักษานาน 12-93 เดือน[/b]ซึ่งการรักษาใช้วิธีฉีดฟิลเลอร์ชนิด HA ลงไปบนกระดูกโดยฉีดลงไปบนหรือใต้เยื่อหุ้มกระดูก และติดตามผลการรักษาโดยการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (MRI) เพื่อตรวจดูว่ายาที่ฉีดลงไปเป็นอย่างไร โดยปกติการฉีดฟิลเลอร์ HA ลงไปที่ชั้นผิวหนังหรือชั้นไขมันใต้ผิวหนังนั้นสารฟิลเลอร์มักจะสลายตัวหมดภายใน 10-12 เดือนเท่านั้น แต่จากผลการรักษานี้กลับพบว่าหลังจากรักษาไปแล้วยังมีปริมาตรเหลืออยู่มากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ จึง[b]สันนิษฐานว่าปริมาตรที่เหลืออยู่เกิดจากการสร้างเนื้อเยื่อใหม่รวมถึงการสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมาบางส่วนด้วย“[/b]
[b]„วิธีการแก้ไขโครงกระดูกใบหน้ามี 2 รูปแบบ คือ การฉีดฟิลเลอร์ลงไปใต้เยื่อหุ้มกระดูก[/b]เพื่อไปกระตุ้นการสร้างกระดูกจากข้างใต้เยื่อหุ้มที่คลุมตัวกระดูกไว้ และ[b]การฉีดลงไปบนเยื่อหุ้มกระดูก[/b] ทำให้เกิดการกระตุ้นเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ อนุภาคของ HA มีการกระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิดของเยื่อหุ้มกระดูก (Periosteal stem cell) และเหนี่ยวนำให้มีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่รวมทั้งทำให้มีการเกาะของแคลเซียมบริเวณนี้ด้วย“
„ในอดีตเราไม่นิยมใช้ฟิลเลอร์ HA ในการเติมเต็มในส่วนที่ขาดของใบหน้าเนื่องจากพบว่ามีการสลายตัวเร็ว จึงทำให้นิยมไปฉีดไขมันแทน หรือหากมีการยุบตัวของกระดูกจากอุบัติเหตุ เช่น หน้าผากยุบก็นิยมรักษาเป็นแบบวิธี Bone Graft หรือการผ่าตัดนำกระดูกจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกายมาแปะเสริมนั่นเอง ซึ่ง[b]การรักษาแบบฉีดไขมันและ Bone Graft นั้นจะมีการบาดเจ็บมากและต้องพักฟื้นนาน การรักษาแบบใหม่จึงถือว่ามีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของโครงกระดูกใบหน้าไม่มากเพราะทำให้ไม่ต้องผ่าตัด“[/b]
„นอกจากนี้ยัง[b]สามารถใช้รักษาปัญหาใต้ตาโดยไม่ต้องผ่าตัดได้[/b]อีกด้วย เพราะในอดีตการรักษาปัญหาใต้ดวงตาถือเป็นการรักษาที่ยากและใช้วิธีการผ่าตัดรักษาเป็นหลัก ซึ่งปัญหาใต้ดวงตาสามารถพบได้ทุกเพศเริ่มตั้งแต่อายุ 30 ปี เริ่มจากการยุบตัวของกระดูกเบ้าตาล่าง และเนื้อเยื่อใต้ตา ทำให้ไม่มีตัวค้ำยัน ใต้ตาจึงเกิดการยุบเห็นเป็นร่องใต้ตา พอเป็นมากเข้าก็ดึงเอาถุงไขมันใต้ลูกตาปลิ้นออกมากลายเป็นถุงใต้ตา หรือในผู้ป่วยบางรายกล้ามเนื้อรอบดวงตาในส่วนที่ปิดเบ้าตาบางผิดปกติทำให้ไม่สามารถปิดกั้นถุงไขมันไม่ให้ออกมาได้“
แก้ไข ‘โครงกระดูกใบหน้า’ ไม่ต้องผ่าตัด