คนดังร่วมงาน“ตรวจสุขภาพได้บุญ”ช่วยเด็กพิการบนในหน้า
[b]นายสานิต หวังวิชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจและการตลาด โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่า[/b] “โรงพยาบาลปิยะเวทเป็นโรงพยาบาลเอกชน ที่มีนโยบายประกอบธุรกิจให้บริการดูแลรักษาสุขภาพ ควบคู่กับการแบ่งปันสู่งสังคมไทยเป็นหลัก [b]ภายใต้แนวคิดการให้บริการดุจญาติมิตร ในด้านการป้องกัน-รักษา-ฟื้นฟู-ดูแล และ แบ่งปัน เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และเพื่อเป็นการต่อยอดวิสัยทัศน์ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมในวงกว้างมากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการ “ยิ้มสร้างสุข” [/b] โดยร่วมกับมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม Operation Smile เชิญชวนคนไทยตรวจสุขภาพประจำปี พร้อมนำรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายโปรแกรมตรวจสุขภาพดังกล่าว [b]ร่วมสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดให้กับเด็กที่เกิดมาพร้อมความพิการบนใบหน้า เพื่อให้เด็กกลุ่มดังกล่าว ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” [/b]
[b]นายแพทย์วัชชิระ ตีระพิพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลปิยะเวท ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคดังกล่าวว่า “โรคปากแหว่งเพดานโหว่ คือ[/b] โรคที่มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นบนใบหน้า พบอุบัติการณ์ประมาณ 1 ใน 700 ของทารกแรกเกิด ลักษณะของปากแหว่ง คือ จะมีรอยแยกของริมฝีปากบนไปจนถึงเหงือกและเพดานปากส่วนหน้า อาจเป็นด้านเดียว หรือ สองด้าน ส่วนเพดานโหว่ จะมีลักษณะเป็นรอยแยกจะเกิดขึ้นตั้งแต่เพดานอ่อนไปจนถึงเพดานแข็ง [b]โรคนี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จากหลายสาเหตุ เช่น[/b] การถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือโครโมโซมที่ผิดปกติ หรือ ปัจจัยที่กระทบคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก เช่น การขาดสารอาหารหรือวิตามินบางชนิด สืบเนื่องจากพิษของยาหรือสารเคมีบางอย่าง รวมถึงการติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด และ อาจเกิดจากการฉายรังสีเอกซเรย์ เป็นต้น”
[b] “เด็กที่มีความผิดปกติในลักษณะนี้ จะมีปัญหาตั้งแต่การเลี้ยงดูหลังคลอด เนื่องจากเด็กจะไม่สามรถดูดนมได้ดีเท่าเด็กทั่วไป และอาจมีปัญหาในระบบของร่างกายร่วมด้วย เช่น[/b] ความพิการทางหัวใจและระบบไหลเวียน ระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย รวมทั้งระบบประสาทและสมอง เด็กบางคนอาจมีปัญหาด้านการพูดคุย การออกเสียง หรือ พูดไม่ชัด วิธีการป้องกันภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ยังทำไม่ได้ในปัจจุบัน แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่า มารดาที่ได้รับวิตามินรวมที่มีส่วนผสมของกรดโฟลิคก่อนการตั้งครรภ์และระหว่างสองเดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจลดความเสี่ยงในการให้กำเนิดบุตรที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ในขณะเดียวกันก็พบว่ามารดาที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่จะให้ กำเนิดบุตรที่มีภาวะโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น [b]นอกจากนั้นการได้รับวิตามินเอในปริมาณมาก ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกายของเด็กได้ ปัจจุบันความผิดปกติดังกล่าวสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัด โดยจะต้องเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด[/b] ศัลยแพทย์ส่วนใหญ่เห็นว่าเด็กสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ตั้งแต่อายุ 3 เดือน การผ่าตัดแก้ไขอวัยวะในช่องปากและจมูก ควรทำตอนที่เด็กอายุน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วนการผ่าตัดแก้ไขภาวะเพดานโหว่นั้น เด็กควรมีอายุ 12- 18 เดือน ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของสุขภาพเด็กโดยรวมและลักษณะของภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นสำคัญ” นพ.วัชชิระ กล่าวเพิ่มเติม
โครงการ “ยิ้มสร้างสุข”