ลาดกระบังฯ ส่งต่อความรู้ผ่านสองมือปั้นจาก “ปัญญาชน” สู่ “เด็กปัญญา”
[b] ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤติยา ตระกูลทิวากร ภาค วิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า[/b] การสร้างสรรค์พร้อมกับพัฒนาผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม ศิลปะ และการออกแบบอันเกิดประโยชน์ต่อสังคม เป็นปณิธานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ที่ทั้งคณาจารย์และนักศึกษาต่างยึดถือกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา [b]คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในหลักสูตรการออกแบบ อุตสาหกรรม ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนในการทำงานอย่างเต็มที่ พร้อมกับการคำนึงอยู่เสมอว่า ผลงานที่สร้างขึ้นมาจะต้องก่อเกิดประโยชน์ต่อสังคมไปพร้อมกัน[/b] ดังนั้น การเดินทางมามอบความรู้ด้านการปั้นเซรามิคแก่เด็กปัญญาในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสดีในการส่งเสริมให้นักศึกษาของสถาบันฯ ได้มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถจากสิ่งที่ได้เรียนมา พร้อมกับนำความรู้ในสาขาวิชาของตนเองไปถ่ายทอดต่อเด็กกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มพูนและพัฒนาทักษะของเยาวชนไทยได้อีกทางหนึ่ง โดยบุคลากรของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่มาร่วมลงพื้นที่ถ่ายทอดความรู้ด้านงานปั้นแก่เด็กปัญญา มีทั้งอาจารย์ และตัวแทนนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ส่วน[b]กิจกรรมที่นำมาอบรมในครั้งนี้ ได้แก่[/b] การทำแม่พิมพ์ และการปั้นเซรามิคในเชิงพาณิชศิลป์ ซึ่งจะต้องมีการนำผลงานของเด็ก ๆ มาผ่านการเผาในเตาเผาเซรามิคเพื่อเพิ่มความสวยงามและทนทานของชิ้นงาน โดยจำเป็นต้องอาศัยทักษะความรู้ในเรื่องการเลือกขนาดของเตา การใช้อุณหภูมิความร้อน และการคำนวณระยะเวลาที่เหมาะสมมาประกอบด้วย ซึ่งทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการให้บริการความรู้ที่มีส่วนช่วยยกระดับผลงานศิลปะของ กลุ่มเด็กปัญญา ให้กลายเป็นผลงานที่มีคุณภาพ และสามารถจำหน่ายในตลาดอุตสาหกรรมเซรามิคได้เพื่อเป็นการสร้างรายได้แก่เยาวชนกลุ่มนี้ต่อไป”
นอกจากนี้ อาจารย์กฤติกา กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการพัฒนานักศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ว่า ปัจจุบัน ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรมของสถาบัน ฯ กำลังจะปรับระยะเวลาเรียนของนักศึกษา จากเดิมที่มี 5 ชั้นปี ให้เหลือเพียง 4 ชั้นปี พร้อมกับการปรับวิชาต่าง ๆ ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งในอนาคตจะถือเป็นชั้นปีสุดท้ายของคณะ [b]ได้ลงพื้นที่ทำงานเพื่อชุมชนและสังคมมากขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพของนักศึกษา ให้เติบโตไปเป็นสถาปนิกที่ไม่ได้มีความรู้ความสามารถในด้านการออกแบบเท่า นั้น แต่ยังพร้อมที่จะนำความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมไปใช้เพื่อพัฒนาสังคมโดยรวมด้วย[/b] ซึ่งทั้งหมดนี้ คือเป้าหมายของ สจล. ที่เราต้องการให้ผู้เรียน นำความรู้ และประสบการณ์ ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย ไปถ่ายทอดสู่บุคคลภายนอก ชุมชน หรือผู้ด้อยโอกาสต่อไป ซึ่งจะเป็นเกียรติประวัติต่อตนเอง ในฐานะบุคคลที่มีส่วนช่วยเหลือสังคม และพัฒนาประเทศชาติไปพร้อมกัน
นางเงาแข เดือดขุนทด ผู้อำนวยการโรงเรียนฉะเชิงเทราปัญญานุกูล