นวัตกรรม ‘หุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูอัมพาต’ สร้างสมรรถภาพการเคลื่อนไหวดีขึ้น
อย่างไรก็ตามตัวผู้ป่วยเองต้องใช้แรงในการฝึกเดิน และนักกายภาพต้องออกแรงในการช่วยพยุง อาจทำให้เกิดภาวะเมื่อยล้า การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากการใช้งานมากเกินไป จึงทำให้ขาดความสม่ำเสมอในการฝึกและไม่สามารถกำหนดความเร็วในการก้าวเดินที่เหมาะสมได้ [b]จึงได้มีผู้คิดค้นประดิษฐ์หุ่นยนต์ช่วยฝึกเดิน และหุ่นยนต์ช่วยในการฝึกการเคลื่อนไหวของมือและแขน มาช่วยในการฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย[/b]
หุ่นยนต์ฝึกเดินนี้จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยฝึกเดินนานขึ้นอย่างเต็มที่ ตามศักยภาพที่มี และกำหนดความเร็ว การพยุงตัว และแรงที่หุ่นยนต์ขาช่วยพยุงในการก้าวเดินให้เหมาะสมกับคนไข้เฉพาะราย ขณะเดียวกันมีระบบคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลในการฝึกของผู้ป่วยแต่ละครั้งเพื่อนำไปพัฒนาในการรักษาต่อ ๆ ไป นอกจากนี้[b]ช่วงเวลาที่คนไข้ฝึกจะมีจอแสดงภาพในลักษณะของเกมให้เล่น เพื่อส่งเสริมการฝึกให้ได้ทักษะที่ต้องการ และสร้างแรงจูงใจในการฝึกสร้างความสนุกสนาน กำหนดเป้าหมายในการฝึกแก่คนไข้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น[/b] สามารถตอบโจทย์สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะเบื่อหน่ายในการฝึก อีกทั้งยังมีระบบรักษาความปลอดภัยระหว่างฝึก มีเซ็นเซอร์จับการเกร็งต้านของกล้ามเนื้อ ถ้าพบว่ามีเครื่องจะหยุดทันทีเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และมีอุปกรณ์พยุงตัวที่เเข็งแรงเพื่อป้องกันการล้ม
[b]การฟื้นฟูผู้ป่วยด้วยหุ่นยนต์จะช่วยทำให้คนไข้โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังมีภาวะ อ่อนแรงกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถลุก เคลื่อนไหวร่างกายเองได้สามารถเข้าร่วมการฟื้นฟู ลดภาวะติดเตียง ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ[/b] เช่น การเกิดแผลกดทับ กล้ามเนื้อตึงรั้งและข้อยึดติด โรคกระดูกพรุน และสามารถฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ ที่มีปัญหาของระบบประสาทที่มีภาวะอ่อนแรง เช่น ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุทางสมอง กลุ่มประสาทไขสันหลังบาดเจ็บหรือถูกกดทับ โรคกล้ามเนื้อเสื่อม โดยคนไข้ต้องผ่านการประเมินจากแพทย์ว่าไม่มีโรคที่เป็นอันตราย เช่น โรคหัวใจหรือโรคปอดชนิดรุนแรง ภาวะข้อติดเเข็ง เป็นต้น
แสดงอาการปวดข้อมือ