รัฐบาลจีนตั้งจุดฉุกเฉินรองรับ “เด็กทารกป่วย-พิการ” ที่พ่อแม่จีนสมัยใหม่แอบทิ้งไว้ข้างถนน
โดยพบว่า[b]มีจำนวนทารกแรกคลอดหลายสิบคนถูกแอบทิ้งไว้ที่ “เกาะทารกปลอดภัย” ที่สร้างขึ้นในปลายปี 2013[/b] “เราต้องการสร้างจุดแรกรับฉุกเฉินพวกนี้ขึ้นเพื่อต้องการให้ทารกแรกคลอดนั้น จะถูกทิ้งในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย” จาง มิน ผู้อำนวยการศูนย์แรกรับเด็กกำพร้าของเมืองเทียนจินกล่าว [u]ฟางฟาง ที่ถูกทิ้งไว้ในกระเป๋าเดินทางถูกส่งเข้ามายัง “เกาะทารกปลอดภัย” ที่ภายในทาสีชมพูมีเตียงเด็กทารกและเครื่องให้ความอบอุ่นแก่ทารกตั้งอยู่ภายใน[/u]
ในประเทศจีน สื่อมวลชนมักรายงานถึง[b]สภาพโหดร้ายของทารกจีนจำนวนมากที่ถูกทอดทิ้งที่มี ปัญหามาจากแม่ชาวจีนอายุน้อยที่ไม่ตระหนักว่าพวกเธอได้ตั้งครรภ์[/b] และให้กำเนิดทารกเพศหญิงที่ไม่ต้องการในสังคมจีนที่ยังคงต้องการทารกเพศชาย ไว้สืบสกุล ซึ่งในกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นกับทารกเพศชายโดนทิ้งไว้ที่ทิ้งขยะที่ชาน เมืองกรุงปักกิ่ง และเป็นที่น่าเสียดายที่เด็กทารกเพศชายรายนี้ต้องจบชีวิตไป และในกรณีอื่น นักผจญเพลิงจีนต้องช่วยเหลือทารกที่ถูกทิ้งจากระบบระบายน้ำสาธารณะ
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าแปลกใจว่า ตัวเลขเด็กกำพร้าในจีนมีจำนวนลดลงตั้งแต่ปี 2005 แต่กระนั้นทางการจีนได้ประเมินว่า แต่ละปีทางการจีนต้องรับภาระเด็กทารกแรกคลอดที่ถูกทิ้งถึง 10,000 คนต่อปี และช่วงหลังจากที่เศรษฐกิจจีนเติบโตจนก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก [b]แนวโน้มของเพศทารกที่ถูกทอดทิ้งที่แต่เดิมจะเป็นเพศหญิงนั้นกลับพบว่า เปลี่ยนไป โดยทารกทั้งเพศชาย และหญิงนั้นถูกทอดทิ้งในสัดส่วนที่มากเท่ากัน[/b] [ub]ซึ่งพบว่าส่วนมากทารกที่ถูกทอดทิ้งนั้นป่วยหนักหรือไม่ก็พิการ[/ub]
ทารกฟาฟาง ถือว่าเป็นทารกรายแรกที่ถูกทิ้งไว้ที่ “เกาะทารกปลอดภัย” ในเมืองเทียนจิน โดยทางการจีนพบว่า [b]ฟางฟาง นั้นป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนย้ำว่า โครงการจุดแรกรับทารกแรกคลอดนี้จำเป็นสำหรับทารกทอดทิ้งที่ป่วย และพิการ[/b] ซึ่งส่วนใหญ่แล้วทารกพวกนี้ต้องการการรักษาพยาบาลในทันที ซึ่งแต่ละจังหวัดในจีนต้องตั้ง “เกาะทารกปลอดภัย” อย่างน้อย 2 แห่งก่อนสิ้นปี2014 “[b]ในรายเด็กทารกแรกคลอดที่พิการมากๆ หากถูกพบช้าไป 10 นาที อาจไม่สามารถช่วยชีวิตเด็กทารกพวกนั้นไว้ได้[/b]”จีกางเจ้าหน้าที่ประจำแผนกศูนย์เด็กกำพร้าและการอุปการะเผย
อย่างไรก็ตาม นโยบายการสร้าง “เกาะทารกปลอดภัย” นั้นมีหลายฝ่ายเกรงว่าอาจเป็นกระแสที่กระตุ้นให้พ่อแม่ชาวจีนสมัยใหม่ทิ้ง ทารกที่พวกเขาไม่ต้องการมากขึ้น ซึ่งในหลายแห่งที่เริ่มเปิด มีทารกถูกทอดทิ้งส่งเข้ามาเป็นจำนวนมากภายใต้การจับจ้องของสื่อมวลชนจีน แต่หลังจากนั้น ตัวเลขของทารกที่ถูกทิ้งไว้มีจำนวนลดลง จี กาง เผยต่อ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของจีนยังกล่าวย้ำว่า แต่[b]การที่มีจุดรับทารกจะไม่ทำให้พ่อแม่จีนมีความต้องการทิ้งเด็กทารกมากขึ้น แต่จะทำให้รัฐบาลทราบตัวเลขที่แท้จริงของทารกที่ถูกทอดทิ้ง ซึ่งในขณะนี้ยังยากที่จะประเมิน[/b]
และนอกจากนี้พบว่า ถึงแม้จีนจะมีมูลนิธิการกุศล และโครงการประกันสุขภาพของรัฐที่ช่วยเหลือผู้ป่วย และพิการเป็นจำนวนมาก แต่ทว่า[b]ไม่มีความเป็นเอกภาพ ซึ่งจีนยังขาดความเป็นเอกภาพของสวัสดิการสังคมรัฐ ซึ่งจะช่วยเหลือไม่ให้ผู้ปกครองชาวจีนต้องจำใจทอดทิ้งบุตรหลานที่ป่วย หรือพิการของพวกเขา[/b] และทางรัฐบาลไม่จำเป็นต้องสร้างจุดฉุกเฉินรับทารกแรกคลอดเป็นจำนวนมากเช่น นี้
กล่องรับทารกที่ถูกทิ้งของเยอรมัน