พลวัตรของการเมืองไทยที่เปลี่ยนไปและความรุนแรงจากการเลื่อนการเลือกตั้ง
[/p]
ในขณะที่เขียนบทความนี้อยู่ เป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินประเด็นอำนาจในการเลื่อนการ เลือกตั้งทั่วไป 2 กุมภาพันธ์ 2557 แม้แนวคิดดังกล่าวจะถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงสักระยะแล้ว แต่พัฒนาการล่าสุดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีลักษณะน่าวิตก เพราะเปลี่ยนจากข้อเสนอทางการเมือง มาเป็นอำนาจตามกฎหมาย [b]จึงจำเป็นต้องทบทวนกันถึงสถานการณ์ที่เปราะบางของการเมืองไทย และอันตรายจากการอนุญาตให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งมีอำนาจที่ไม่เคยปรากฏขึ้นใน รัฐธรรมนูญ[/b]
[b]แนวคิดเรื่องพลวัตรการเมืองไทย - แนวคิดเรื่องพลวัตรการเมืองไทยอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองของไทยว่ามาจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจของคนสี่กลุ่ม[/b] คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ ข้าราชการประจำทั้งทหารและพลเรือน ชนชั้นกลางในเมืองใหญ่ และชนชั้นล่างจากชนบท นอกจากพระมหากษัตริย์แล้ว ที่เหลือต่างต่อสู้แย่งชิงอำนาจการเมืองกันตลอดมา[b]แนวคิดนี้อธิบายความล้มเหลวของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540[/b] ว่ามาจากการที่รัฐธรรมนูญลดพื้นที่การเมืองของชนชั้นกลางลง เพิ่มพื้นที่ให้กับชนชั้นล่าง ประกอบกับรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่เปลี่ยนชนชั้นล่างจากฐานเสียงเป็นฐานนโยบาย สภาพที่เกิดขึ้นทำให้ดุลยภาพการเมืองไทยที่เคยมีอยู่เสียไป และส่งผลให้ชนชั้นกลางลุกฮือ จนรัฐธรรมนูญเองต้องสิ้นผลไปในที่สุด
ชนชั้นกลางบนกระแสประชาธิปไตยไทย