เสียงดังกับสุขภาพ ‘หู’
ช่วงเทศกาลปีใหม่นี้หลายท่านอาจจะได้มีโอกาสไปร่วมงานปาร์ตี้หรืองานเลี้ยงที่อาจจะเป็นพื้นที่ปิดและมีการใช้เสียงในระดับที่ค่อนข้างดังซึ่งทั้งหมดก็เพื่อความครื้นเครงสนุกสนาน แต่ขณะเดียวกันช่วงเวลาที่ผ่านมาหลายคนอาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าร่วมชุมนุมซึ่งนอกจากจะมีเสียงปราศรัยจากเครื่องขยายเสียงขนาดใหญ่แล้วยังมี เสียงนกหวีดที่ถูกเป่าขึ้นพร้อม ๆ กันรวมอยู่ด้วย [b]หลายท่านอาจจะลืมคิดถึงเรื่องของเสียงดังที่ทุกคนจะต้องได้ยินไป[/b]
วันนี้จึงจะขอพูดถึงเรื่องเสียงที่มีผลกระทบต่อการได้ยินโดยทั่วไป สาเหตุที่ทำให้การได้ยินลดลงคืออายุที่มากขึ้น ระบบประสาทการได้ยินเสื่อมถอยลงไปตามสภาพอายุที่เราเรียกว่าหูตึง [b]แต่ถ้าเราโดนเสียงที่มีความดังมากระทบเป็นประจำโดยเฉพาะเกิน 85 เดซิเบลเป็นระยะเวลานานจะเกิดการเสื่อมของหูก่อนวัยอันควรได้[/b] (เสียงสนทนาพูดคุยทั่วไปจะอยู่ประมาณ 60 เดซิเบล)
ผลกระทบต่อสุขภาพจากมลภาวะทางเสียงอาจมีเล็กน้อย เช่น เกิดความรำคาญ นอนหลับไม่ดี หงุดหงิดอารมณ์แปรปรวน บางรายมีอาการมากขึ้น เช่น [b]หูดับ หูอื้อ เสียการได้ยินชั่วคราว หากเป็นมากจะมีอาการหูตึงก่อนวัย[/b]
ถ้าได้รับเสียงดังมากในเวลาอันสั้น เช่น ระเบิด ปืน พลุ หรือแม้เสียงที่ตะโกนใส่หูก็อาจทำให้เกิดแรงอัดอากาศกระแทกเยื่อแก้วหูทำให้ แก้วหูทะลุ มีเลือดออกจากหูและหูตึงแบบถาวรได้ เรา[b]จึงควรป้องกันความเสื่อมของหูจากเสียงดังคือ[/b] [ub]หลีกเลี่ยงเสียงดังในทุกที่[/ub] เช่น โรงงานที่มีเครื่องจักรเสียงดัง หน้าลำโพงในเวทีคอนเสิร์ตฟังเพลงหรือดูทีวีที่เสียงดัง โดยเฉพาะเรื่องการใช้หูฟัง (Headphone) ในเด็กวัยรุ่น โดยเสียงที่ออกจากลำโพงที่เสียบหูจะเข้าไปในรูหูโดยตรง
ชายวัยกลางคนแสดงสีหน้าปวดหู