มองศาสนาในวิกฤติทางการเมือง
ท่ามกลางวิกฤติกาลทางการเมืองที่เกิดความวุ่นวายและปานปลายไปจนถึงมีผู้ เสียชีวิตเพราะเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ชุมชุมของกลุ่ม กปปส สิ่งที่มวลมหาคนไทยทั้งประเทศต้องการมากที่สุดในเวลานี้ คือ การหาทางออกให้กับทุกฝ่ายโดยไม่ให้เกิดความรุนแรงในรูปแบบต่างๆขึ้นในประเทศ อีก [b]ทางออกเดียวที่เป็นผลดีกับทุกฝ่ายและหลีกเลี่ยงจากความรุนแรงได้ ดีที่สุด คือ “การพูดคุยเจรจา” แล้วนำข้อเสนอของทุกฝ่ายไปสู่ “การปฏิรูป” [/b]
แน่นอนว่าจะไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ตามที่ตนต้องการทั้งหมดและทุกฝ่ายจะต้อง เดินหน้าหาจุดร่วมที่พอจะไปด้วยกันได้ โดยสถาบันใดสถาบันหนึ่งจะต้องทำหน้าที่ประสานงานให้เกิดการพูดคุยเจรจา เพื่อหาทางออกให้กับทุกฝ่าย [b]มองไปรอบตัว ว่าสถาบันใดในสังคมที่เหมาะสมกับบทบาทดังกล่าว โดยที่ทุกฝ่ายในสังคมให้การยอมรับและเชื่อมั่นว่าจะเป็นคนกลางในวง “เจรจา” [/b]
ที่ผ่านมาหลายภาคส่วนในสังคมเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการเจรจา ดังปรากฏในสื่อต่างๆ เช่น กองทัพ และ 7 องค์กรภาคธุรกิจ ซึ่งรัฐบาลเองก็ตอบรับด้วยการร่างกรอบการปฏิรูปเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติ แต่ดูเหมือนจะไม่ได้ผลเท่าที่ควรเนื่องจาก กลุ่ม กปปส โดยการนำของ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่ค่อยไว้ใจเจ้าภาพเจ้าภาพมักนักประกอบกับกลุ่ม กปปส เองก็คงก็คงมองว่า ข้อเสนอของตนคงไม่ได้รับการยอมรับในวงเจรจา
เวลาเด็กทะเลาะกันแล้วเพื่อน มาห้ามมักจะไม่ค่อยได้ผล ต้องให้คนที่เด็กเคารพนับถือ เช่น พ่อ แม่ ครู มาห้ามจึงจะยอมหยุด ฉันใดก็ฉันนั้น [ub]ในสถานการณ์ที่สถาบันสำคัญๆใน สังคมถูกทำลายความน่าเชื่อถือด้วยข้อหา “เลือกข้าง” ในความเข้าใจของผู้เขียนแล้ว ผู้เขียนมองว่าสถาบันที่เปรียบเหมือน ผู้หลักผู้ใหญ่ในครอบครัวที่เป็นเหมือน หลักเป็นฐานให้กับลูกหลานในยามที่เกิดความระสับระสั่นในสังคม คือ สถาบันศาสนา[/ub] โดยเฉพาะศาสนาพุทธ ที่มีรากฐานทาง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สังคม ควบคู่กับสังคมไทยมาช้านาน แต่เหตุใดในยามวิกฤติบ้านเมืองเช่น นี้ เราไม่เคยเป็นแม้แถลงการณ์ประณามความรุนแรง จากมหาเถรสมาคมซึ่งเป็นฝ่ายบริหารของคณะสงฆ์เข้ามามีบทบาทกับการจัดการความ ขัดแย้งทางการเมือง
พระสงฆ์ จำนวนหลายรูป