คมนาคมบุกแดนโสมดูงานขนส่งสาธารณะ พัฒนาระบบไทยแก้ปัญหาจราจร สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง
๐ [b]เยี่ยมชมระบบควบคุมจราจร[/b] ด้านนายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวภายหลังการเยี่ยมชม ศูนย์ควบคุมการจราจร และระบบตั๋วร่วมของสาธารณรัฐเกาหลี [b]ว่า ในอนาคตประเทศไทยจะมีการปรับปรุงระบบการขนส่งในประเทศไทย โดยเริ่มจากระบบรถเมล์[/b] ซึ่งจากการศึกษารูปแบบการปฏิรูประบบขนส่งมวลชนของเกาหลีตั้งแต่ [b]ปี 2004 เริ่มจากการปฏิรูปรถเมล์เป็นระบบแรกควบคู่กับระบบรถไฟฟ้า[/b] ซึ่งในอดีตการบริการรถเมล์ที่เกาหลีมีปัญหาเหมือนประเทศไทยในปัจจุบัน ที่รถร่วมเอกชนต้องประสบปัญหากับการแข่งขันอย่างรุนแรง มีการแย่งผู้โดยสารจนเกิดอุบัติเหตุ ทางรัฐบาลเกาหลีจึงได้นำบริษัทเดินรถเมล์เอกชนมาอยู่ในความดูแล โดยจ่ายค่าตอบแทนให้กับเอกชนที่เดินรถ ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีผลตอบแทนที่เหมาะสม ที่สำคัญมีการเดินรถอย่างเป็นระเบียบ ทิ้งระยะเวลาในการเดินรถ ลดปัญหาการแย่งผู้โดยสารและแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดได้อย่างเป็นระบบ
[b]นอกจากนี้ เกาหลียังได้นำระบบเทคโนโลยี ทั้งระบบจีพีเอส และระบบตั๋วร่วม มาติดตั้งบนรถโดยสารสาธารณะ ซึ่งข้อมูลเชื่อมโยงไปยังศูนย์ควบคุมสามารถบริหารจัดการการเดินรถได้อย่างมี ประสิทธิภาพ[/b] เช่น ระบบรถเมล์ ซึ่งการนำจีพีเอสมาใช้จะทำให้สามารถบริการการปล่อยรถ ควบคุมความปลอดภัย ด้วยการจำกัดความเร็ว และการให้ข้อมูลแก่ประชาชน เช่น ระบบให้ข้อมูลที่ป้ายรถเมล์ว่ารถคันต่อไปจะเข้าเป็นรถสายใด จะมาภายในกี่นาที
[b]ศูนย์ควบคุมการจราจรที่กรุงโซลแห่งนี้ เป็นจุดรวบรวมข้อมูลเส้นทางต่างๆ ทั่วกรุงโซล[/b] ซึ่งเชื่อมโยงความเคลื่อนไหวการจราจรบนถนนทุกสายมายังศูนย์ข้อมูลแห่งนี้ ผ่านเทคโนโลยี จีพีเอส ที่ติดตั้งอยู่บนรถเกือบทุกคันในโซล รวมถึงโทรศัพท์มือถือของคนเกาหลี ก็มักจะเปิดบริการจีพีเอสอยู่ด้วย
นอกจากนี้ [b]ยังมีการใช้ประโยชน์จากกล้องวงจรปิดที่อยู่ตามจุดต่างๆ ทำให้ข้อมูลทั้งหมดถูกส่งมายังศูนย์ควบคุมการจราจรทั้งหมดแบบเรียลไทม์ เพื่อประมวลผลการจราจรบนท้องถนน [/b]และแจ้งแนะนำเส้นทางให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนได้อย่างแม่นยำ ผ่านทางอุปกรณ์แนะนำเส้นทาง หรือ เนวิเกเตอร์, แอพพลิเคชั่นบนมือถือ หรือกระทั่งโซเชียลเน็ตเวิร์คยอดฮิตอย่าง เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ใช้รถ
๐ [b]พัฒนาเก็บข้อมูล สถิติ ใช้ประโยชน์ [/b] โดยเฉพาะเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนถนน ศูนย์ข้อมูลก็จะส่งข้อความแจ้งไปยังผู้ใช้รถให้เลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น เพื่อไม่ให้เกิดการเสียเวลา นอกจากนี้ [b]ศูนย์ข้อมูลจราจรแห่งนี้ได้พัฒนาระบบบริการข้อมูลจราจรแบบใหม่ ในลักษณะของการพยากรณ์การจราจรล่วงหน้า 1 วัน ในเส้นทางต่างๆ[/b] เพื่อให้ผู้ใช้รถสามารถวางแผนการเดินทางล่วงหน้าก่อนออกจากบ้านได้ ซึ่งลักษณะการพยากรณ์จะใช้วิธีการประมวลผลข้อมูลจราจรย้อนหลัง 5 ปี และนำมาวิเคราะห์พยากรณ์ปริมาณการจราจรในเส้นทางต่างๆ
[b] “การพยากรณ์ข้อมูลดังกล่าวได้รับการยืนยันว่ามีความถูกต้องแม่นยำ มากกว่า 90%[/b] ข้อมูลพยากรณ์เหล่านี้จะถูกเผยแพร่ให้กับประชาชนได้รับทราบ ในลักษณะคล้ายๆ การพยากรณ์อากาศประจำวันผ่านรายการโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ และแอพพลิเคชั่นต่างๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นหนึ่งในแนวทางการปฏิรูปการจราจรในกรุงโซล ให้กลายเป็นเมืองที่มีปัญหาการจราจรลดลง และชีวิตความเป็นอยู่ของคนก็ดีขึ้นตามไปด้วย”
นอกจากนี้ นายจิรุตม์ กล่าวถึงแนวทางระบบบริหารจัดการของสาธารณรัฐเกาหลี โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปรถโดยสารระหว่างรัฐและเอกชน ในประเทศไทยนั้นสามารถดำเนินการได้ โดยให้สอดคล้องและมีความเหมาะสม เพื่อจูงใจให้คนไทยหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถส่วนตัว ที่สำคัญจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดได้เป็นอย่างดีและอุบัติเหตุก็ลดลง [ub]ที่สำคัญจะต้องมีการหารือกับผู้ประกอบการรถร่วมซึ่งคาดว่าในเร็วๆนี้ควบคู่กับ โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ หรือ NGV จำนวน3,183 คัน ของ ขสมก.[/ub]
๐ [b]ตั้งเป้ายกเครื่องเมล์ไทย[/b] อย่างไรก็ตาม นายชัชชาติ กล่าวว่า ตามแผนของกระทรวงคมนาคมนั้น มีเป้าหมายที่จะยกเครื่องระบบบริการของรถเมล์ไทย ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมภายใน 1-2 ปีข้างหน้า ทั้งการปรับปรุงการบริหารงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ หรือ ขสมก. รวมถึง[ub]การจัดหารถใหม่ผ่านการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,000 ล้านบาท ที่จะเริ่มการประกวดราคาในปีหน้า[/ub] นอกจากนี้ ยังยอมรับว่าการปรับปรุงบริการรถเมล์โดยสาร กระทรวงคมนาคม ได้ศึกษาแนวทางในหลายประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ซึ่งสามารถยกเครื่องระบบรถเมล์ที่เคยประสบปัญหาเช่นเดียวกับไทย กลับมาเป็นบริการที่ได้รับความนิยมใช้บริการ มีระบบที่มีคุณภาพ ลดอุบัติเหตุได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ในปี 2557 กระทรวงคมนาคม มีแผนที่จะผลักดันการนำระบบตั๋วร่วมมาใช้งาน โดยคาดว่าจะเริ่มการประมูลเพื่อวางระบบได้ต้นปีหน้า โดยระยะเริ่มต้นการใช้งานระบบตั๋วร่วม จะสามารถใช้ร่วมกับระบบทางด่วน รถเมล์ และรถไฟฟ้า
[ub]สำหรับความคืบหน้าการจัดทำร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) โครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2 ล้านบาทนั้น[/ub] ที่ผ่านมา พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในฐานะเป็นรัฐมนตรีที่กำกับดูแลองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) [ub]ได้มีนโยบายให้คณะกรรมการจัดทำร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) ให้ชะลอการเปิดประมูลจัดซื้อรถเมล์ เอ็นจีวี พร้อมทั้งให้แก้ไขทีโออาร์ในส่วนของรถโดยสารธรรมดา (รถร้อน) 1,659 คัน ให้เป็นไปตามข้อแนะนำของกลุ่มผู้พิการ ที่ต้องการเข้าถึงบริการได้ทั้งรถร้อนและรถปรับอากาศ[/ub] ซึ่งคณะกรรมการร่างทีโออาร์ ได้รับนโยบายไปดำเนินการปรับปรุทีโออาร์แล้ว โดยหลักๆ สเปกรถร้อนจะเหมือนรถปรับอากาศ แตกต่างกันที่มีแอร์กับไม่มีแอร์ [ub]ซึ่งเบื้องต้นจะปรับเปลี่ยนคุณสมบัติรถร้อน เป็นแบบแชสซีส์กึ่งชานต่ำ (Semi Low floor) เพื่อให้มีทางลาดสำหรับรถเข็น (wheel chairs) ใช้ได้ ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้กรรมการร่างทีโออาร์ ไปพิจารณาเพิ่มเติมให้เหมาะสม[/ub]
ระบบขนส่งของประเทศเกาหลีใต้