เปิดคู่มือ "รู้แล้วรอด" สอนเด็กรับมือภัยพิบัติ
[/p]
"รู้แล้วรอด อยากให้เธอได้รู้แล้วรอด รู้แล้วรอด...อยากให้เธอได้รู้"
ท่อนฮุกของเพลง "รู้แล้วรอด" เน้นย้ำถึงความหมายของเพลง ที่แต่งขึ้นเพื่อนำมาประกอบการสื่อสารสาระให้ความรู้กลุ่ม เป้าหมาย อย่างเด็กและเยาวชนได้ตื่นตัวและหันมาสนใจเรื่องภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทำให้ภัยพิบัติแต่ละครั้ง มีความรุนแรงมากขึ้นทุกที การเตรียมความพร้อมด้วยการสร้างความรู้ให้กับเด็กๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
โครงการส่งมอบชุดความรู้เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ "รู้แล้วรอด" ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก ซึ่งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานแห่งชาติ (สพฐ.) และองค์การอนามัยโลก ร่วมกันจัดทำโครงการเผยแพร่ความรู้และปลูก จิตสำนึกที่ดีต่อส่วนรวมแก่เยาวชนไทยในด้านการรับมือกับภัยพิบัติโดยง่าย
จัดทำเป็นชุดความรู้ประกอบด้วย แผ่นพับคู่มือจิตอาสา แผ่นพับคู่มือกระเป๋ายังชีพ หนังสือคู่มือรับภัยพิบัติ (ฉบับพกพา) เกมกระดาน เกมการ์ด และเกมตัวต่อ เพื่อออกเดินทางไปจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ในช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. ในโรงเรียนนำร่องทั่วประเทศ
ตั้งแต่เกิดสึนามิ เมื่อปี 2547 คนไทยได้เรียนรู้ว่าภัยธรรมชาติเป็นเรื่องยิ่งใหญ่และทำให้อยู่อย่างปลอดภัยเหมือนเดิมไม่ได้ เพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการ สพฉ. ชี้ให้เห็นว่า จากความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ทำให้แต่ละพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดภัยธรรมชาติรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจากเหตุการณ์สึนามิ และอีกหลายๆ เหตุการณ์เห็นได้ชัดว่า คนไทยยังไม่พร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ แม้หน่วยงานรัฐจะเตรียมความพร้อม เช่น สายด่วน 1669 หรือศูนย์บรรเทาสาธารณภัย แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ฉะนั้นจึงต้องฝังความรู้เหล่านี้ลงไปในระดับชุมชน เป้าหมายคือทำให้เด็กไทยมี ความรู้ว่าภัยอะไรบ้างที่สามารถเกิดขึ้นได้ในประเทศไทยและจะรับมืออย่างไร
โครงการส่งมอบชุดความรู้เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ "รู้แล้วรอด"