‘สเปเชียลโอลิมปิก’ เสียงจากคนพิเศษ ในวันที่โลกจะเห็นเรา
[/p]
[b] “สเปเชียลโอลิมปิกเป็นการจัดกิจกรรมที่รองรับคนทุกระดับความสามารถ[/b] สำหรับคนพิการซ้ำซ้อน จะมีการแข่งทักษะ กลไก กลิ้งม้วนตัว ย้ายลูกเทนนิส เป็นกิจกรรมจากการทำกายภาพบำบัด หรือ[b]หากเป็นคนที่มีทักษะสูง จะได้แข่งขันในกีฬายูนิฟายด์[/b] ในทีมจะประกอบด้วยนักกีฬาพิเศษและนักกีฬาปกติที่มีความสามารถเท่าเทียมกันในจำนวนเท่ากัน เพื่อแสดงให้เห็นว่าคนพิเศษสามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้”
ขณะที่ [b]พรธิดา พัดทอง เจ้าหน้าที่องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟองค์กรที่เข้ามาช่วยสนับสนุนสเปเชียลโอลิมปิก อธิบายว่า[/b] อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ระบุว่า เด็กมีสิทธิจะเล่นและร่วมกิจกรรมสันทนาการ แต่เด็กบางกลุ่มขาดโอกาสทางสังคม ซึ่งรัฐต้องเติมเต็มจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้เด็กได้รับสิทธินี้
“เรื่องการเล่านี้สำคัญ เพราะเด็กจะมีพัฒนาการจากการเคลื่อนไหว [b]การเล่นกีฬานอกจากจะพัฒนาทักษะทางร่างกายแล้ว ยังเป็นการพัฒนาทางสมองและความมั่นคงทางจิตใจ[/b] ทำให้เด็กรู้จักวิธีสื่อสารกับผู้อื่น ซึ่งช่วยพัฒนาเด็กพิการทางสติปัญญาให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้” พรธิดายืนยัน
จากที่มีโอกาสได้ไปชมการแข่งขัน “สเปเชียลโอลิมปิก” ล่าสุด [u]ระหว่างการแข่งขันในสนามนอกจากสีสันของนักกีฬาที่วิ่งโดยไม่หวังชนะ วิ่งรอกันบ้าง วิ่งออกนอกลู่บ้าง หรือบางคนเหนื่อยมากก็เดินเสียเฉยๆ ยังมีสีสันจากเสียงพากย์ของ ครูสมพงษ์ เครือโชติ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ[/u] จ.ปทุมธานี อาสามาช่วยพากย์การแข่งขันหลายปี หยอกล้อนักกีฬาอย่างสนุกสนานถูกอกถูกใจทั้งผู้เข้าแข่งขันและผู้ชม
“นักกีฬาพิเศษเวลาให้เข้าแถวก็จะเข้าแถวได้ นั่งเรียบร้อย จริงๆ แล้วเกพวกนี้ไม่สามารถจะนั่งได้นาน เด็กจะค่อยๆมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในแต่ละปี [b]การเข้าร่วมสเปเชียลโอลิมปิกเป็นการเปิดโอกาส เพราะปกติเด็กเหล่านี้จะมีโอกาสออกจากบ้านน้อยมาก[/b] และช่วยฝึกวินัยให้เขามีสมาธิและความอดทนมากยิ่งขึ้น เป็นการสร้างคนที่ได้มากกว่าการสร้างสนามเด็กเล่นหรือสถานสงเคราะห์คนพิการ” ครูสมพงษ์พูดสรุปจากประสบการณ์
ชลธิชากร จำนงภิมล