ครูสอนดีชัยภูมิ แก้ปัญหาอ่านเขียน
[/p]
การอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นปัญหาสำคัญต่อการเรียนรู้ด้านวิชาการและด้านอื่นๆ ของเด็กไทยจำนวนไม่น้อย โดยข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ระบุว่า[b]มีนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 ถึง 64,000 คน ที่ยังอ่านภาษาไทยไม่ได้ [/b]
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จึง[b]จัดโครงการ "สังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ ยกย่องเชิดชู ครูสอนดี" เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว[/b] โดยสภาส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะชีวิตเด็กและเยาวชนจังหวัดชัยภูมิ(สรช.) ได้รับการคัดเลือกให้เป็นจังหวัดดีเด่นตามโครงการดังกล่าว พร้อมทั้งร่วมกัน[b]จัดงาน "พลังบวรยกระดับการเรียนรู้ เชิดชูครูสอนดี จังหวัดชัยภูมิ"[/b] ที่ศูนย์เยาวชนเทศบาลเมืองชัยภูมิ ไปเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ปฏิรูปการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน ดึงภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมแก้ปัญหา โดย[b]ตั้งเป้า 3 ปี เด็กอ่านไม่ออกเหลือ 0 คน[/b]
นายทองอินทร์ เพียภูเขียว ประธานสรช. กล่าวว่า [b]ท้องถิ่นกำลังลุกขึ้นมาปฏิรูปการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของเยาวชน[/b] สรช.เกิดจากความร่วมมือของจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานด้านการศึกษา วัด เอกชน และภาคประชาสังคม แต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัด และการสนับสนุนจาก สสค. ซึ่งสรช.มีตัวแทนมาจากหลายหน่วยงาน ทำให้การทำงานเชื่อมโยงแต่ละส่วนคล่องตัวขึ้น
[b]"สิ่งสำคัญคือท้องถิ่นจะรู้ปัญหาของเด็กโดยตรง ทำให้แก้ปัญหาได้ตรงจุด[/b] ปัญหาการอ่านเขียนของเยาวชนในชัยภูมิ เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่ต้องเร่งแก้ไข จึงร่วมมือกับครูสอนดี 329 คนในจังหวัด ใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อสร้างการเรียนรู้ พร้อมสร้างเครือข่ายครูสอนดี เพื่อยกระดับคุณภาพของครูที่ส่งผลต่อผู้เรียนโดยตรง" ประธาน สรช. กล่าว
จากการเข้าไปเยี่ยมชมโรงเรียนชุมชนบ้านบุ่งคล้าวิทยา อ.เมือง จ.ชัยภูมิ โรงเรียนต้นแบบแกนนำจัดการเรียนร่วมของสพฐ. [b]มีนักเรียนเรียนร่วม 2 ประเภท คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา[/b] ที่แม้จะมีนักเรียนที่ยังขาดทักษะด้านการอ่านเขียนอยู่ถึง 26 คน แต่พบว่าทางโรงเรียนไม่ได้ละเลยปัญหาแต่อย่างใด
[b]ครูศรีประไพ พรหมมณี ผู้ได้รับรางวัลครูสอนดี จาก สสค. ได้ทำโครงการ "ส่งเสริมการเรียนรู้ มุ่งสู่การอ่านอ่านออกเขียนได้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์[/b] CAI (Computer Assistance Instruction)" เนื่องจากเด็กๆ ชอบเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์ จึงนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้กับเด็กที่มีปัญหาการอ่านเขียน
คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ เด็กๆ ต้องแบ่งกันใช้