อัลไซเมอร์ไม่หายขาด แนะเข้าใจ-ไม่ทิ้งผู้ป่วย
ศ.พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการเลขานุการ มูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย บอกว่า[b]โรคอัลไซเมอร์เป็น กลุ่มอาการซึ่งเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง จะมีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อมๆ กันแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างถาวร[/b] ส่งผลให้มีการเสื่อมของระบบความจำและการใช้ความคิดด้านต่างๆ ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเอง ในระยะสุดท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด และจะค่อยๆแย่ลงจนถึงอาการสุดท้ายคือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และเสียชีวิตเพราะอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
[b]ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัดแต่เชื่อว่าสาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรม รวมถึงปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้องด้วย เช่น[/b] อาหาร สิ่งแวดล้อม สารพิษ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการติดเชื้อบางชนิด เป็นต้น ประมาณการว่าน่าจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในประเทศไทยประมาณ 665,287 คน [u]ขณะนี้ยังไม่สามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ โดยยาต่างๆ ที่ใช้รักษาโรคนี้ ช่วยเพียงแค่ควบคุมอาการของโรคผู้ป่วยโรคนี้จึงต้องมีผู้ดูแลพาไปพบแพทย์ตามนัด[/u]
[b]แนวทางการดูแลผู้ป่วยมีดังนี้ 1.ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจและยอมรับ[/b]กับภาวะสมองเสื่อมของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ [b]2.ช่วยเหลือผู้ป่วย[/b]ในการทำกิจวัตรประจำวัน [b]3.ดูแลการใช้ยา[/b]และพาไปพบแพทย์ [b]4.ระวังอุบัติเหตุ 5.การดูแลด้านจิตใจและอื่นๆ[/b] หากป่วยระยะเริ่มต้นควรหากิจกรรมฝึกความจำเพื่อช่วยชะลออาการของภาวะสมองเสื่อมได้6.ตัวผู้ดูแลเองก็ควรจะดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย
สื่อทางการแพทย์ แสดงส่วนต่างๆของสมอง