กรมสุขภาพจิต แนะ..เมื่อการเมืองป่วน คนไทยจะดูแลจิตใจอย่างไร? ไม่ให้เครียด!!
[/p]
ความวุ่นวายและความตึงเครียดทางการเมืองในขณะนี้ ที่สืบเนื่องมาจากความตื่นตัวของประชาชนคนไทยจากภาคส่วนต่างๆออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมประท้วงคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม [b]หากสถานการณ์ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น อาจส่งผลให้คนไทยเกิดภาวะความเครียดทางการเมืองที่นำมาสู่ “โรคทางจิตเวช” ได้[/b]
น.พ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ความตื่นตัวทางการเมืองของคนไทยที่มีมากขึ้นในปัจจุบันถือเป็นเรื่องที่ดี และเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ แต่เชื่อว่าคงไม่มีใครที่ต้องการให้เกิดความรุนแรงขึ้น เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นนอกจากจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็น อยู่ของประชาชนต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมทั้งประเทศแล้ว [b]ยังกระทบต่อสภาพจิตใจของคนไทยและอาจทำให้เกิด “โรคเครียดทางการเมือง” (Political Stress Syndrome : PSS) ขึ้นได้[/b]
โดยผู้ที่เป็นโรคเครียดทางการเมืองจะ[b]มีอาการแสดงทั้งทางกาย ทางใจ และทางพฤติกรรม[/b] ซึ่งอาการทางกาย ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ตึงบริเวณขมับ ต้นคอหรือตามแขน ขา นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ หรือหลับแล้วตื่นกลางคืนไม่สามารถหลับต่อได้ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทั้งๆ ที่อยู่ในสภาพปกติ หายใจไม่อิ่ม อึดอัดในช่องท้อง แน่นท้อง ปวดท้อง ชาตามร่างกาย อาการทางใจ ได้แก่ วิตกกังวล ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย โกรธ ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง รู้สึกไม่มีทางออก สมาธิไม่ดี ฟุ้งซ่านหรือหมกมุ่นมากเกินไป และปัญหาพฤติกรรมและสัมพันธภาพกับผู้อื่น คือไม่สามารถยับยั้งตนเองได้ มีการโต้เถียงกันกับผู้อื่น หรือคนในครอบครัว มีความคิดที่จะตอบโต้โดยใช้กำลังในการเอาชนะ [b]มีการลงมือทำร้ายร่างกายเพื่อการเอาชนะแม้กับคนที่เคยดีกันมาก่อน จนทำให้เกิดปัญหาด้านสัมพันธภาพ[/b] ซึ่งความเครียดลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกกลุ่ม ทั้งผู้ชุมนุม นักการเมือง ผู้ติดตามข่าวสาร และกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพจิต
น.พ.เจษฎา กล่าวต่อว่า [b]ผู้ที่มีความเครียดรุนแรงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดอารมณ์รุนแรงนั้นลง ด้วยการปฏิบัติ[/b] ดังนี้ [b]1. บริหารเวลา[/b]ให้เหมาะสม โดยแบ่งเวลาในการติดตามข่าวสารบ้านเมือง การดูแลครอบครัว การทำงานและการพักผ่อน และไม่ควรติดตามข่าวสารต่อเนื่องนานเกิน 2 ชม. หรือควรติดตามจากคนใกล้ชิดแทน [b]2. ลดการรับข้อมูล[/b]ข่าวสารจากสื่อที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์โกรธ เช่น สื่อที่ให้ข้อมูลด้านเดียวหรือสื่อที่มีภาพและเสียงที่เร้าให้เกิดอารมณ์ รุนแรง เพราะจะยิ่งทำให้มีความเครียดสูง ควรรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อที่สะท้อนความคิดที่หลากหลาย และมุ่งเน้นการหาทางออก [b]3. ควรมีวิธีการลดความเครียด[/b] เช่น การออกกำลังกาย สวดมนต์ ทำสมาธิ หายใจคลายเครียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ชายวัยกลางคนแสดงอาการกลุ่มใจ