มหัศจรรย์ความรัก "เมื่อฉันมีลูกพิการ"
[/p]
[b]"วินาทีแรกที่รู้ว่าลูกเป็นเด็กพิเศษ หัวใจสำคัญคือการให้กำลังใจตัวเอง ครอบครัว ร่วมให้กำลังใจซึ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดเพราะถ้าเราไม่มีกำลังใจยืนหยัดต่อสู้เราจะไม่มีแรงมากพอในการช่วยเหลือลูก"[/b]
คำกล่าวของแม่นก แม่ผู้มีหัวใจนักสู้ให้กับน้อง "ลูกหิน" ลูกชายที่ป่วยพิการด้วยโรคหินปูนเกาะสมอง พร้อมกล่าวต่อว่า[b]การมีลูกพิการทำให้ได้เรียนรู้ถึงความอดทนของจิตใจตัวเอง[/b] ที่อ่อนแออดทนต่อความยากลำบากที่ต้องเลี้ยงลูกที่ไม่ปกติเหมือนคนอื่น
ศูนย์การเรียนรู้บ้านแม่นก ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว และสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. [b]จัดเสวนาและเปิดตัวหนังสือเรื่อง "มหัศจรรย์ เมื่อฉันมีลูกพิการ" เปลี่ยน...ความพิการเป็น...ความพิเศษ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี[/b] โดยมีคุณแม่หัวใจแกร่ง "แม่นก" นางเสาวภา ธีระปรีชากุล ประธานศูนย์การเรียนรู้บ้านแม่นก ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ความรักที่ยิ่งใหญ่ของ "แม่" ที่มีลูกพิการ พร้อมด้วย
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก เพื่อแบ่งปันความรู้ให้คุณแม่ที่มีลูกพิการนำไปปรับใช้กับลูกของตนเอง [b]รศ.นพ.อดิ ศักดิ์แนะแนวทางการดูแลเด็กพิการให้มีสุขภาพทางกายและใจที่ดี สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขว่า[/b] ลำพังการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพโดย โรงพยาบาลอย่างเดียวไม่เพียงพอ จึงต้องมีหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือและประสานงานเข้าด้วยกัน ทั้งแนวทางทฤษฎีและปฏิบัติ เชื่อมโยงให้เด็กพิการมีส่วนร่วมในสังคม ทำให้ครอบครัวแข็งแกร่งมีความยั่งยืนยิ่งขึ้น
[b]แม่นก เสาวภา กล่าวว่า[/b] การจะเลี้ยงลูกพิการให้รอดได้ สิ่งแรกพ่อแม่ต้องยอมรับความจริงและพร้อมที่จะพัฒนา ความเป็นแม่ที่มีลูกพิการทางสมองระดับ 5 คือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตลอดชีวิต เป็นเรื่องที่ยากมากในการดูแลเด็กพิการทางสมอง ซึ่งจะมีอาการและโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และด้วยความรักลูกมาก จะทำอย่างไรให้ลูกอยู่รอดอย่างปลอดภัยและมีความสุข ให้ลูกมีความทุกข์น้อยที่สุด [b]เมื่อเรามีลูกพิการซึ่งขอเรียกว่า"เด็กพิเศษ"เราจึงต้องเลี้ยงดูเขาเป็นพิเศษด้วยการมอบความรักให้เต็มที่[/b]
แม่นกกล่าวต่อว่า ถึงวันนี้ศูนย์การเรียนรู้บ้านแม่นกช่วยอบรมครอบครัวที่มีลูกพิการทางสมอง แล้วกว่า 60 ครอบครัว มีสมาชิก 12 ครอบครัว อาสาสมัคร 10 คน และกำลังสร้างอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือเด็กพิการรุนแรง [b]เพราะตระหนักดีว่าในวันนี้ที่พ่อแม่ยังแข็งแรง สามารถเลี้ยงลูกได้ แต่ถ้าวันหนึ่งพ่อแม่แก่ เจ็บ และตายไป ใครจะเลี้ยงลูก ซึ่งได้รับความช่วยเหลืออย่างดีจากภาคเอกชน องค์กรหน่วยงานที่มีน้ำใจ[/b] เช่น องค์กรคาร่า ประเทศออสเตรเลีย ที่มาช่วยสร้างอาสาสมัครในประเทศไทยให้เป็นมืออาชีพอย่างปลอดภัย การจัดค่ายเรียนรู้ศาสตร์โดสะโฮกับวิทยากรญี่ปุ่น เพื่อฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้
บรรยากาศผู้เข้าร่วมงานเสวนาและเปิดตัวหนังสือเรื่อง "มหัศจรรย์ เมื่อฉันมีลูกพิการ" เปลี่ยน...ความพิการเป็น...ความพิเศษ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี