เครื่องประเมินความเสี่ยงในการทำงานของผู้พิการและบุคคลทั่วไปที่ใช้ร่างกายส่วนบน
[/p]
[b]จากนั้นจะนำข้อมูลมาประเมินค่าความเสี่ยงออกมาเป็นตัวเลข 1-7 เมื่อค่าความเสี่ยงถูกประเมินออกมา[/b] วิศวกรหรือนักออกแบบก็มีหน้าที่เข้าไปปรับปรุงสถานที่ทำงาน อาทิ โต๊ะทำงาน ระดับการวางคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือต่างๆ ให้สอดคล้องกับสรีระของผู้ปฏิบัติงานและเป็นไปตามหลักการยุทธศาสตร์มากที่สุด และ[b]ส่วนตัวผู้ปฏิบัติงานเองก็จะได้ปรับพฤติกรรมท่าทางในการทำงานให้เหมาะสม[/b] เช่น การนั่งหลังตรงและปรับเปลี่ยนอิริยาบทในการทำงานทุกๆ 2 ชั่วโมง เป็นต้น โดยเครื่องประเมินความเสี่ยงระหว่างนั่งทำงานถูกพัฒนาขึ้น เพื่ออำนวยการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย โดยนำเครื่องประเมินความเสี่ยงไปติดตั้งบริเวณเครื่องจักร ติดกล้องไว้สองข้างลำตัวของผู้ปฏิบัติงาน จากการทดสอบพบว่าให้ค่าที่เที่ยงตรงกว่ามุมอื่นๆ และมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 10 องศาจากอุปกรณ์วัด แต่ที่สำคัญคือให้ค่าที่แม่นยำกว่าการประเมินด้วยสายตามนุษย์และการจดบันทึก ด้วยมือ
[b] “ ปัจจุบันสถานประกอบการในไทยได้มีการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของพนักงาน อยู่บ้าง[/b] แต่เป็นการประเมินจากสายตาซึ่งความแม่นยำไม่มากนัก ซึ่งเป้าหมายจริงๆ ที่พัฒนาซอฟต์แวร์นี้ขึ้นมาเพราะหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของบริษัท ผู้ประกอบการโรงงาน ที่มีความใส่ใจในความปลอดภัยหรือสุขลักษณะของพนักงานได้นำไปใช้ ซึ่งปกติเครื่องมือแบบนี้ในต่างประเทศมีใช้กันทั่วไปแต่มีราคาสูงถึงเกือบ สิบล้านบาท แต่เครื่องมือที่ได้พัฒนาขึ้นเองนั้นมีราคาไม่สูงอยู่ที่หลักหมื่นต้นๆ เท่านั้น” นายเชาวลิต กล่าว
เครื่องประเมินความเสี่ยงในการทำงานของผู้พิการและบุคคลทั่วไปที่ใช้ร่างกายส่วนบน