คนพิการต่างจังหวัด....มีสิทธิขึ้นรถเมล์ไหม???
[/p]
[b]การที่กลุ่มคนพิการริเริ่มรณรงค์ขอใช้สิทธิพลเมืองในการรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อการดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาตนเอง นับเป็นเรื่องยากที่สังคม หรือแม้แต่คนพิการ และครอบครัวจะเข้าใจ[/b] เพราะสังคมเคยชินกับการมองว่า คนพิการเป็นผู้ป่วย ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ น่าสงสาร เรียนไม่ได้ ทำงานไม่ได้ ครอบครัวต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูคนพิการตลอดชีวิต และสิ่งที่คนในสังคมจะช่วยคนพิการได้ คือ การสงเคราะห์ช่วยเหลือ โดยการให้ทาน เลี้ยงอาหาร และบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น
แต่คณะผู้นำคนพิการก็ไม่ย่อท้อ ร่วมกันรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจแก่คนพิการ ครอบครัวคนพิการ ผู้นำรัฐบาล นักการเมือง ผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกด้าน โดยจริงจัง ต่อเนื่อง และเหน็ดเหนื่อย โดยใช้เวลาถึง เกือบ ๑๐ ปี [b]จึงมีการประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับคนพิการฉบับแรก คือ “พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔” [/b]
สิ่งที่น่าภาคภูมิใจที่สุดในครั้งนั้น คือ การรณรงค์ให้มีกฎหมายว่าด้วยสิทธิคนพิการฉบับแรก เกิดจากคนพิการแต่ละประเภทที่รวมตัวกันในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ กลุ่มคนพิการบางประเภทก้าวหน้าถึงขั้นตั้งสมาคม [b]เมื่อคนพิการแต่ละประเภทตั้งสมาคมสำเร็จ ผู้นำคนพิการทั้งคนต่างจังหวัด และคนพิการกรุงเทพฯ ก็ร่วมใจกันก่อตั้ง “สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย” [/b] และจัดประชุมสภาฯ ที่จังหวัดต่างๆ ในแต่ละภูมิภาคโดยหมุนเวียนกันไป
ฉะนั้น [b]เพื่อนพิการต่างจังหวัด ที่ถามมา ๒ คำถาม[/b] ว่า ในขณะที่ผู้นำคนพิการในกรุงเทพฯกำลังรณรงค์คุ้มครองสิทธิพลเมืองในการใช้บริการรถเมล์หรือรถโดยสารประจำทางสาธารณะ คนพิการต่างจังหวัดช่วยอะไรได้บ้างไหม และ คนพิการต่างจังหวัดมีโอกาสใช้รถเมล์ซึ่งมีทางลาดเลื่อนเข้าออกเชื่อมระหว่างประตูรถกับทางเดินเท้าไหม
ตอบได้เลย ว่า [b]โดยวัฒนธรรมของคนพิการไทย คนพิการต่างจังหวัดกับคนพิการกรุงเทพฯมีความยึดโยงกันอย่างเหนียวแน่น ตั้งแต่เริ่มมีการรวมตัวกลุ่มคนพิการแต่ละประเภทดังกล่าวข้างต้น [/b]แม้กระทั่ง เมื่อคนพิการทุกประเภทรวมตัวกันเป็นสภาฯ ก็พยายามพัฒนาโครงสร้างให้มีการเชื่อมโยงจากส่วนกลางสู่แต่ละจังหวัด นอกจากนั้น [b]ในการจัดกิจกรรมใดๆ เพื่อการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิต สภาฯ ก็ดำเนินการ ๒ ทาง ทางหนึ่ง[/b] คือ ผู้นำคนพิการส่วนกลางนำวิทยากรไปให้ความรู้ / ฝึกอบรมแก่คนพิการ ครอบครัวคนพิการ ผู้ช่วยคนพิการ อาสาสมัครช่วยคนพิการ และบุคลากรของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับภาค และระดับจังหวัด ส่วนอีกทางหนึ่ง คือ สภาฯ เชิญผู้นำคนพิการต่างจังหวัดเข้าไปประชุม / ฝึกอบรมในกรุงเทพฯ หรือปริมณฑล
ชาวบ้านตามชนบท ใช้บริการรถสองแถวเล็ก