แผนรับมือภัยพิบัติญี่ปุ่นความพร้อมประชาชนคือหัวใจ
ถึงกระนั้น แม้ว่าทุกขั้นตอนการฝึกจะมีความสำคัญ แต่ จุนนิชิ กล่าวว่า “ขั้นตอนการหลบหนีไปยังสถานที่ปลอดภัย” หรือ ขั้นตอนที่ 3 มีความสำคัญที่สุด เพราะนี่คือขั้นตอนที่จะช่วยทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้รู้ว่า เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นแล้ว จะต้องหลบหนีไปรวมกันอยู่ ณ ที่จุดใด
“ยามเมื่อเกิดภัยพิบัติแล้ว ถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่ประชาชนจะต้องรู้ว่าจะหลบหนีไปที่ไหนได้บ้างที่จะ ทำให้พวกเขาปลอดภัย” จุนนิชิ กล่าว
นอกจากการเตรียมพร้อมภาคประชาชนแล้ว เมื่อลองขยับขึ้นไปมองในด้านการรับมือของรัฐบาล ราชการและรัฐบาลของญี่ปุ่นเองก็มีความพร้อมในการรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่อาจ เกิดขึ้นตลอดเวลาเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของรัฐบาลกลางที่ได้มีการวางมาตรการในการจัดตั้งศูนย์ บัญชาการภัยพิบัติกลาง หรือห้อง “วอร์รูม” ขึ้นทันที หากมีภัยพิบัติร้ายแรงเกิดขึ้น โดยให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ควบคุมจัดการและมีอำนาจสิทธิขาดในการตัดสินใจ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีเอกภาพ
ไม่เพียงเท่านั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบในการคาดการณ์และจับตาเรื่องภัยพิบัติ ยังทำงานในเชิงรุกด้วยการจับตาความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านภัย พิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า ซึ่งล่าสุดทางการญี่ปุ่นคาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหว ครั้งใหญ่ในกรุงโตเกียว และเมืองนาโกยา
ขณะเดียวกัน ในส่วนของหน่วยงานอิสระต่างๆที่ไม่สังกัดภาครัฐของญี่ปุ่นเอง ก็มีการเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลาเฉกเช่นเดียวกัน ดังเห็นได้จากกรณีของ โรงพยาบาลกาชาดสากล ในเมืองอิชิโนมากิ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่เคยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับรักษาผู้ประสบภัยเห ตุสึนามิในปี 2011 ได้หันมาเตรียมความพร้อมมาตรการรับมือเหตุฉุกเฉินด้านภัยพิบัติที่เข้มข้น มากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น การจัดสรรพื้นที่ให้สามารรถรองรับและขยายผู้ป่วยมากขึ้น การฝึกซ้อมการรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่เข้มข้น
อิมามูระ มาซาโตชิ