การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลกับการฟ้องศาลปกครองกรณี ขสมก.เลือกปฏิบัติ
[/p]
การร้องขอตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ร้องในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดต่อศาลที่มีเขตอำนาจ โดยให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายอย่างอื่น อันมิใช่ตัวเงินให้แก่คนพิการที่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมได้ และหากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการนั้นเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ศาลจะกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษให้แก่คนพิการไม่เกินสี่เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงด้วยก็ได้
[b]มาตรา ๑๗[/b] ในการใช้สิทธิตามมาตรา ๑๖ คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการอาจขอให้องค์กรด้านคนพิการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ร้องขอหรือฟ้องคดีแทนได้
การฟ้องคดีตามมาตรา ๑๖ วรรคสอง ไม่ว่าคนพิการเป็นผู้ฟ้องเองหรือองค์กรด้านคนพิการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ฟ้อง แทน ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
นั่นหมายความ [b]หากเกิดการเลือกปฏิบัติในกรณีใดๆ ต่อคนพิการ ข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นสามารถใช้อ้างอิงในการฟ้องร้องคดีต่อศาลได้เพื่อให้ศาลคุ้มครองสิทธิของคนพิการ[/b]
อย่างไรก็ตามการนิยามคำว่า “การเลือกปฏิบัติ” ในกฎหมายต่างๆ มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แม้เจตนารมณ์จะตรงกันก็ตาม
[b]ในการยกร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล(ฉบับที่..) พ.ศ. ….โดย เครือข่ายคนพิการ ได้รวบรวมความหมายของการเลือกปฏิบัติในมิติต่างๆ และกำหนดนิยามไว้ค่อนข้างจะสมบูรณ์[/b] ดังนี้
[b] “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม” [/b] หมายความว่า การกระทำการ งดเว้นกระทำการหรือการกำหนดแผนปฏิบัติการ ที่แม้จะมิได้มุ่งหมายให้เป็นการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลโดยตรง แต่ผลของการกระทำนั้นทำให้ต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับ หรือมีผลกระทบต่อสิทธิ หรือประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของบุคคลใดในลักษณะที่แตกต่างไปจากผู้อื่น รวมถึงการปฏิเสธไม่ให้ความช่วยเหลือต่อบุคคลตามเหตุอันสมควรทั้งที่อยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ เพราะเหตุที่บุคคลนั้นมีความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการสภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรมหรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ การเลือกปฏิบัติให้หมายความรวมถึงการก่อกวน การคุกคาม หรือการชี้นำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
ดังนั้น [b]ผู้เสียหายจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่มีสิทธิเสนอคดีต่อศาลปกครองเพื่อรับความคุ้มครองจากศาล[/b] โดยขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งต่างๆ แล้วแต่กรณี เช่น
- ขอให้ศาลให้เพิกถอนคำสั่งหรือยกเลิกแผนปฏิบัติการ ในส่วนที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
- ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งห้ามมิให้หน่วยงานหรือบุคคลใดกระทำการอันจะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
- ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งบังคับให้หน่วยงาน หรือบุคคลอื่นใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรณีที่การงดเว้นกระทำการเช่นว่านั้นเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
- ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แสดงสิทธิของผู้ได้รับความเดือดร้อน หรือ ความเสียหายจากการที่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมว่ามีอยู่อย่างไร
- ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้หน่วยงานหรือบุคคลใด ซึ่งกระทำการเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมชดใช้ค่าเสียหาย
อนึ่ง แม้ว่า เครือข่ายคนพิการจะแสดงบทบาทประหนึ่งเป็นแกนนำในการติดตามการจัดซื้อรถเมล์ใหม่ของ ขสมก. รวมถึงการเตรียมฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ขสมก.ยืนยันจะซื้อรถเมล์ที่ประชาชนหลายกลุ่มใช้ไม่ได้ หรืออาจนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัยต่อร่างกายและชีวิตของประชาชนในการใช้บริการรถเมล์สาธารณะ แต่[b]เป้าหมายของการเรียกร้องให้ ขสมก.”ซื้อรถเมล์ที่ทุกคนใช้ได้ทุกคัน” นั้น หมายรวมถึงประชาชนทุกคน คนทุกกลุ่ม รวมถึงคนที่มีข้อจำกัดในการใช้รถเมล์สาธารณะ [/b]
ประชาชนแย่งกันขึ้นรถเมล์