“ภาคีเครือข่ายปชช:ทุกคนขึ้นรถเมล์ได้ทุกคัน” โวย ขสมก.เลือกปฏิบัติต่อคนพิการ
[/p]
[b]ภาคีเครือข่ายประชาชนฯ ได้ย้ำว่า ข้อเสนอทั้ง ๒ ประการดังกล่าวเป็นหัวใจหลักที่ ขอให้ ขสมก.กำหนดไว้ในร่าง TOR ฉบับที่ ๓[/b] หาก ขสมก. ไม่ดำเนินการแก้ไข TOR ตามข้อเสนอนี้ ทางภาคีเครือข่ายประชาชนฯ โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ คนพิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง[b]จำเป็นที่จะต้องดำเนินคดีตามกฎหมายโดยทันทีที่มีการประกาศให้มีการประมูลจัดซื้อรถโดยสารใหม่ พร้อมทั้งใช้สิทธิพลเมืองในการเคลื่อนไหวอย่างสงบ[/b]ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นไปตามหลักกฎหมายและผลประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ และพ่อแม่ที่มีลูกเล็กนั่งรถเข็นเด็ก เป็นต้น ตลอดจนส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศในฐานะจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวระดับโลก (World Class Tourism Destination) ซึ่งการพัฒนาเมืองและบริการสาธารณะต่างๆ จะต้องมีการออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design : UD)
เป็นที่แน่ชัดว่า[b]การกำหนด TOR นี้เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ[/b] ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๖ รวมทั้งพันธะสัญญาที่ประเทศไทยได้ลงนามไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (CRPD) และยุทธศาสตร์อินชอน เป็นต้น ซึ่ง[b]การที่ ขสมก.ดึงดันประกาศ TOR ที่ขัดหลักกฎหมายและธรรมาภิบาล จะนำความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มความเหลื่อมล้ำทางสังคม[/b] สร้างความเสื่อมเสียเกียรติภูมิของชาติในการดูแลประชาชนอย่างเท่าเทียมอันเป็นหลักสากล รวมถึง สร้างความอับอายขายหน้าแก่ผู้นำรัฐบาลเนื่องจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ซึ่งได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน HRC 24 ณ สำนักงานสหประชาชาติ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า[ub] “สำหรับผู้พิการดิฉันได้สนับสนุนนโยบาย และการปฏิบัติการให้ดำเนินการตามมาตรฐานสากลเพื่อคนพิการ (Universal Design) เพื่อลดอุปสรรคทางกายภาพ ผู้พิการต้องสามารถเข้าถึงบริการการเดินทางที่เท่าเทียม ตลอดจนสิทธิประโยชน์ทางสังคม และการสร้างรายได้” [/ub]ข้อความนี้ได้แสดงเจตนารมณ์ นโยบาย และการนำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมว่าหน่วยงานที่จัดบริการการเดินทางต้องจัดบริการด้วยการใช้มาตรฐาน สากล เพื่อให้คนพิการสามารถใช้บริการเดินทางได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป
ที่ผ่านมาภาคีเครือข่ายประชาชนฯ โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ และเด็ก ได้เข้าพบ และหารือผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์) และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่างให้การยืนยันว่าจะจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทุกคน รวมถึงคนพิการทุกประเภทสามารถใช้รถโดยสารที่จะจัดซื้อใหม่ทุกคัน ทั้งนี้ [b]หาก ขสมก. มิได้ดำเนินการตามคำกล่าวของผู้นำรัฐบาลและฝ่ายบริหาร ก็จะถูกประชาชน โดยเฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศได้เรียนรู้ และจดจำว่า...นักการเมืองกล่าวเท็จและหลอกลวงประชาชนไปวันๆ[/b] ซึ่งไม่สร้างสรรค์ และนำไปสู่ความเสียหายยิ่งใหญ่ อันไม่น่าเกิดขึ้นจากการขาดจิตสำนึกต่อสิทธิและความเสมอภาคของประชาชนคนไทยทุกกลุ่มของผู้ปฏิบัติงานเพียงไม่กี่คน
อนึ่ง ในร่าง TOR ที่กำหนดให้จัดซื้อรถโดยสารธรรมดา (รถร้อน) มีคุณลักษณะด้านความปลอดภัยว่าต้องวิ่งบริการรับ-ส่งและช่วยเหลือประชาชนในพื้นถนนที่มีน้ำท่วมขังไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำนวนมากถึง ๑,๖๕๙ คัน [b]น่าจะขัดกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพราะโครงการนี้ที่ไม่ได้ระบุว่า ให้ซื้อรถโดยสารมาใช้งานในพื้นถนนที่มีน้ำท่วมขัง [/b]
[b]ทั้งนี้ การเกิดน้ำท่วมขังมี ๒ ลักษณะ[/b] คือ [b]มีฝนตกหนักหรือน้ำทะเลหนุน[/b] ลักษณะเช่นนี้มีพื้นที่เฉพาะ ท่วมขังระยะสั้นประมาณ ๓ ชั่วโมง และไม่ถึงระดับ ๗๐ เซนติเมตร อีกลักษณะหนึ่งคือเกิดมหาอุทกภัยเช่นในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ในครั้งนั้นมีการระดมยานพาหนะขนส่งของทหารและเรือเข้ามาช่วยประชาชน และ ขสมก. ก็มีบทบาทนำรถโดยสารออกมาช่วยประชาชนในโอกาสเดียวกัน แต่สิ่งเหล่านี้ในปัจจุบันได้รับการแก้ไขปัญหาแล้ว พร้อมทั้งมีมาตรการต่างๆ ในการแก้ไขสถานการณ์ ดังนั้นเหตุการณ์มหาอุทกภัยในกรุงเทพมหานครจึงมิน่าจะเกิดขึ้น หรือหากเกิดน้ำท่วมขังไม่น้อยกว่า ๗๐ เซ็นติเมตรจริง นอกจากประชาชนจะไม่สามารถออกมาใช้บริการรถโดยสารแล้ว ก็มิใช่หน้าที่หลักของ ขสมก. ที่จะต้องเตรียมรถเพื่อบริการประชาชนถึง ๑,๖๕๙ คัน หากบวกเพิ่มรถโดยสารเก่าที่มีลักษณะเช่นนี้อยู่แล้ว ยิ่งชี้ชัดว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจัดซื้อรถโดยสารธรรมดา (รถร้อน) ถึง ๑,๖๕๙ คัน เพื่อลุยน้ำท่วมได้ ๗๐ เซนติเมตร และอาจนำไปสู่ข้อสงสัยว่าจะมีเจตนาที่มิสุจริต
บุคคลทั่วไปทดลองใช้ทางลาดของรถเมล์ชานต่ำ