หนุนสร้างกรอบการทำงานระดับประเทศ...แก้ ‘พิการแต่กำเนิด’
ทั้งนี้ สถานการณ์การเกิดโรคในปัจจุบัน [b]ภญ.เนตรนภิส สุชนวณิช ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประธานเปิดการประชุมกล่าวว่า[/b] แม้ว่าประเทศไทยจะมีอัตราการเพิ่มจำนวนประชากรไม่สูงมากนัก แต่ก็ยังมีปัญหาเด็กพิการแต่กำเนิดปีละประมาณ 40,000 คน/ปี ฉะนั้นการมีฐานข้อมูลพื้นฐานที่ชัดเจนตั้งแต่แรกเกิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ [b]เพราะหากสามารถวิเคราะห์ได้ก่อนว่าเด็กป่วยเป็นอะไร ก็จะสามารถรักษาอาการของเด็กได้เร็วช่วยให้เขาเติบโตและใช้ชีวิตที่ดีได้ด้วยตนเอง[/b]
“การร้อยเชื่อมข้อมูลของระบบการรักษาเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะคนหนึ่งคนไม่อาจทำได้ทุกหน้าที่ หมอผ่าตัดไม่สามารถดูแลคนไข้ได้ในช่วงพักฟื้น นางพยาบาลเองก็ไม่สามารถดูแลคนไข้ได้ตลอดไป และคนในชุมชนเองก็ไม่สามารถทำการผ่าตัดให้ผู้ป่วยได้
ฉะนั้นแต่ละฝ่ายจึงต้องมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันโดยระบบคัดกรองเด็กนี้ ไม่เพียงแต่ป้องกันรักษา และดุแลโรคพิการแต่กำเนิดได้เท่านั้นแต่ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคอื่นๆ อย่างโรคธาลัสซีเมียด้วย”
ศ.นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ หัวหน้าหน่วยเวชพันธุศาสตร์และเมตาบอลิซึม ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์