พลิกความเศร้าให้เป็นโอกาส...บอกลูกอย่างไรเมื่อสัตว์เลี้ยงตาย
สัตว์ฟันแทะหรือ กลุ่มกระต่ายและหนูเป็นสัตว์เลี้ยงราคาถูก หาซื้อง่าย และดูแลง่ายกว่าสัตว์ใหญ่ แต่ข้อเสียของสัตว์กลุ่มนี้ คือมักจะตัวเล็ก ตื่นตกใจง่าย และมีฟันคม บางชนิดเช่น แฮมสเตอร์ หนูถีบจักร และหนูเจอบิลมักมีอารมณ์แปรปรวนเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ หากเด็กสนใจควรเลือกสายพันธุ์ที่ไม่ก้าวร้าวและมีขนาดไม่เล็กมากนัก เช่น กระต่ายพันธุ์มินิเร็กซ์ หรือหนูตะเภา พ่อแม่ต้องยอมรับว่า "การเลี้ยงสัตว์คือภาระของพ่อแม่" การฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบเป็นเรื่องที่ต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไปและต้องทำใจว่าอาจไม่สำเร็จ ดังนั้น [b]เด็กควรมีอายุ 6 ขวบขึ้นไปก่อนมีสัตว์เลี้ยงตัวแรก อาจลองชักชวนเด็กคุยเรื่องสัตว์ หรือทยอยซื้ออุปกรณ์การเลี้ยงมาทีละนิด เพื่อค่อยๆ เพิ่มความสนใจของเด็กก่อนการเลี้ยงจริง[/b]
สำหรับเด็กแล้วความใกล้ชิดทำให้สัตว์เลี้ยงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและพัฒนาการด้านอารมณ์ ความรู้สึก [b]เมื่อถึงเวลาที่สัตว์เลี้ยงจากไป พ่อแม่ควรสื่อสารอย่างไร ให้เปลี่ยนการสูญเสียสัตว์เลี้ยงแสนรักให้เป็นโอกาสให้ลูก ได้เรียนรู้วิถีของธรรมชาติที่ไม่จีรัง[/b]
ไม่นานมานี้ นายปรี๊ดตัดสินใจให้กระต่ายสุดหล่อตัวโปรดกับหลานชายไป...แต่เมื่อให้ไปแล้ว ก็เริ่มคิดถึงว่าวันหนึ่งถ้ากระต่ายขนนุ่มตัวนั้นถึงเวลาไปยมโลก คุณแม่จะอธิบายให้เด็กๆ ฟังอย่างไรให้เรื่องร้ายๆ กลับเป็นการส่งเสริมความเข้าใจวิถีธรรมชาติ และทำให้คนตัวเล็กเข้าใจอารมณ์เศร้า ที่เกิดจากการสูญเสียสิ่งที่รัก แม้จะดูไม่เป็นวิทยาศาสตร์นัก แต่[b]เรื่องการอธิบายให้เด็กเข้าใจ “ความตายและการสูญเสียสัตว์เลี้ยง” นั้นไม่ค่อยมีใครพูดถึง แต่นักจิตวิทยาเด็กและนักการศึกษาต่างปะเทศ ให้ความใส่ใจกับประเด็นนี้มาก[/b] เพราะเป็นการสื่อสารที่สำคัญทำให้เด็กก้าวพ้นความเศร้า และเข้าใจว่าความตายเป็นเรื่องธรรมชาติ ซึ่งจะมีผลต่อบุคลิก การควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมในอนาคต
หลายครั้งที่ได้ยินพ่อแม่ดุเด็กที่อยากเลี้ยงสัตว์ว่า"จะเลี้ยงทำไม...เป็นภาระ...เลี้ยงไปก็ตาย...ร้องไห้ เสีย ใจกันอีก...บาป กรรม..." เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าผู้ใหญ่หลายคนรู้ว่าสัตว์เลี้ยงมักมีอายุสั้น และต้องการตัดปัญหาหากสัตว์เลี้ยงต้องตาย เกรงจะทำให้เด็กเสียใจ (รวมทั้งตัวเองด้วย) จึงอาจพลาดโอกาสบางอย่างไป เช่น การฝึกความรับผิดชอบ เพิ่มความอ่อนโยนเด็ก และ[b]การเลี้ยงสัตว์ถึงว่าเป็นการเพิ่มทักษะทางธรรมชาติและการสังเกตที่ดี อย่างหนึ่ง[/b] ตามทฤษฏีอัจฉริยภาพซึ่งมีหลายด้าน หลากมิติ
เมื่อสัตว์เลี้ยงตาย...ถือเป็นเวลาเศร้าสุดใจของเด็กๆ และเป็นโอกาสทองที่พ่อแม่จะต้องทำให้ลูกได้เรียนรู้ว่า "การเสียของรัก" คืออะไร เพื่อความเข้าใจวิถีทางของธรรมชาติ นักจิตวิทยาเด็กแนะนำว่า [b]ควรบอกเมื่อเด็กอยู่ในอารมณ์สงบ ควรชวนไปนั่งคุยสองต่อสอง ในที่ที่สงบ และเค้ารู้สึกว่าปลอดภัย[/b] พ่อแม่เองไม่ควรฟูมฟายจนเกินเหตุ หรือตำหนิใครในข้อบกพร่องหรือเป็นสาเหตุให้สัตว์เลี้ยงตาย
[b]ที่สำคัญที่สุดคือ "ต้องไม่โกหก"[/b] การบอกว่า "มันหนีไปไหนไม่รู้ แม่ตามหาไม่เจอ" หรือ "มันไปเที่ยว เดี๋ยวก็กลับ" ไม่ใช่การแนะนำถึงความตายที่ถูกต้องสำหรับเด็ก เพราะนอกจากจะเป็นการโกหกแล้วยังทำให้เด็กสับสนและรอคอย ควรบอกเด็กว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ตามความจริง แต่ต้องคำนึงถึงวุฒิภาวะตามอายุของเด็ก หากเล่าฉากหมารุมฟัดแมวเลือดสาดให้เด็ก 3 ขวบฟัง อันนี้แม่ควรไปเช็คประสาทก่อน [b]ควรคิดให้ดีก่อนว่าควรใช้คำพูดอย่างไรให้ตรงความจริง แต่ไม่โหดร้ายรุนแรงเกินไป[/b]
สุนัขพันธุ์ชิสุกำลังนอนหลับ