พ.ร.ก.ฉุกเฉินกับความจำเป็นเพื่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ ยังมีความเคลื่อนไหวจากองค์กรภาคประชาสังคม(NGO) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ออกมารณรงค์ปลุกกระแสให้ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตามที่ปรากฏในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เวปไซต์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง [b]พร้อมชักชวนพี่น้องประชาชนเขียนข้อความในจดหมายสันติภาพหรือโปสการด์ส่งถึง องค์การสหประชาชาติและสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติคัดค้านพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ[/b]
โดยการเรียกร้องยกเลิกในครั้งนี้ ให้เหตุผลโดยรวมว่า [b]พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่สามารถที่จะควบคุมสถานการณ์ความรุนแรงที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและ ทรัพย์สินต่อประชาชนได้[/b] ขณะเดียวกันยังเอื้อให้เกิดเงื่อนไขการหล่อเลี้ยงวงจรความรุนแรง ที่มาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ ที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ โดยปราศจากกลไกเอาผิดได้ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมไม่ต้องรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะมาตรา ๑๗ เนื่องจากมาตราดังกล่าวระบุว่า เจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ไม่ต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่งทางอาญาหรือทางวินัยแต่อย่างใด
แผนที่จังหวัดชายแดนใต้