รู้ทัน′โนโมโฟเบีย′ โรคติดโทรศัพท์มือถือ
[/p]
[b]หากใครอยากรู้ว่าตนเองเข้าข่ายเป็น โรคสมัยใหม่อย่าง "โนโมโฟเบีย" หรือที่แปลเป็นไทยได้ชื่อว่า "โรคติดโทรศัพท์มือถือ" หรือเปล่า ลองสังเกตจากอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้ เครียด ตัวสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ หากไม่มีโทรศัพท์มือถืออยู่กับตัวโทรศัพท์เเบตหมดหรือว่าอยู่ในที่ไร้สัญญาณ[/b]
[ub]ยังรวมถึงลักษณะการบ่งบอกสัญญาณของโรค[/ub] อย่างหมกมุ่นอยู่กับการเช็กดูมือถือตลอดเวลา, มักกังวลว่าโทรศัพท์มือถือหาย, โทรศัพท์มือถือต้องวางอยู่ในรัศมีที่เอื้อมถึงและต้องวางอยู่ถูกที่เสมอ, คนพูดเตือนว่าให้วางมือถือได้แล้วมากกว่าหนึ่งครั้งต่อวัน, ใช้เวลากับโทรศัพท์มากกว่าการสนทนากับผู้คนตรงหน้า, ก่อนทานอาหารต้องถ่ายรูปอาหารลงเฟซบุ๊ก, ภายในหนึ่งนาทีหลังเจอหน้าเพื่อนจะต้องถ่ายรูปเพื่อโหลดลงเฟซบุ๊ก
[b]"โนโมโฟเบีย"[/b] เป็นอาการที่เกิดจากความหวาดกลัวจากการขาดโทรศัพท์มือถือเพื่อการติดต่อสื่อสาร รวมไปถึงภาวะความเครียดที่อยู่ในจุดอับสัญญาณหรือเเบตเตอรี่หมดจนไม่สามารถติดต่อใครได้
"YouGov" ซึ่งเป็นองค์การวิจัยของสหราชอาณาจักร บัญญัติศัพท์ที่ใช้เรียกอาการของโรคนี้ขึ้นเมื่อปี 2008 จากการนำคำว่า [b]no-mobile-phone มารวมกับคำว่า phobia หรือโรคกลัวในทางจิตเวช จัดอยู่ในกลุ่มวิตกกังวลเป็นความกลัวที่มากกว่าความกลัวทั่วๆไป[/b]
ผลจากการศึกษาของ Helsinki Institute for Information Technology ประเทศฟินแลนด์ พบว่า [b]โดยเฉลี่ยคนจะเช็กโทรศัพท์มือถือวันละ 34 ครั้ง[/b] โดยมักจะเช็กอีเมล์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือแอพพ์ต่างๆ โดยจะใช้เวลาเช็กไม่เกิน30วินาที
สำหรับสาเหตุที่เช็กนั้นไม่ใช่เพราะมีเรื่องด่วน แต่ว่าเป็นสิ่งที่ทำประจำจนเป็นนิสัยแล้ว หรือห้ามใจไม่ไหว ดังนั้น [b]หากวางมือถือผิดที่จะใช้เวลาเพียงไม่นานก็ทราบว่ามือถือหาย นักวิจัยวิทยาวิเคราะห์ว่า กลุ่มคนอายุน้อยมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าเพราะช่วงวัยรุ่นจะติดเพื่อนติดเกมส์มากกว่า[/b]
เรื่องนี้จากการพูดคุยกับ "เปรม" หรือ กรณัฐ การุณย์ หนุ่มวัย 21 ปี นักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ก็ยอมรับว่าติดทั้งไลน์ เฟซบุ๊ก รวมทั้งเกมส์ รวมถึงโทรศัพท์มือถือ "ผมว่ามันสำคัญ ผมชอบโหลดเกมส์มาเล่น ซึ่งหลายเกมเป็นเกมส์ออนไลน์ ต้องใช้เวลาเล่นที่ต่อเนื่อง เพราะต้องเเข่งขันกับเวลา และคู่ต่อสู้คนอื่นเเน่นอนว่าผมต้องนั่งก้มจ้องโทรศัพท์ตลอด"
[b]นอกจากจะเป็นปัญหาทางจิตเเล้ว การติดโทรศัพท์ได้สร้างปัญหาทางกายให้กับกรณัฐอีกด้วย[/b] "หลายครั้งก็ปวดหัว ปวดตา ปวดเมื่อยหลัง และปวดช่วงต้นคอ" กรณัฐบอก และเผยอีกว่า "การติดโทรศัพท์มีผลกระทบต่อการเรียนของตัวเองบ้าง เพราะหลายๆ เกมส์สนุกจนดึงดูดความสนใจมากกว่าวิชาเรียนที่อยู่ตรงหน้า ว่างเมื่อไหร่ก็หยิบทันที [b]และทุกครั้งที่อยู่คนเดียวก็หยิบมาเล่น หรืออย่างพักหลังๆ นี้แม้ว่าอยู่กับเพื่อนหากว่าไม่มีอะไรน่าสนใจก็หยิบโทรศัพท์มาเล่นเลยเหมือนกัน"[/b]
สำหรับการติดตามเรื่อง "โนโมโฟเบีย" ในประเทศไทย ช่วงต้นปีที่ผ่านมาสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ออกมาเปิดเผยผลสำรวจหัวข้อว่า [b]"1 วันในชีวิตเด็กไทย" ในกลุ่มตัวอย่างประมาณ3,000คนทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด[/b]
[b]พบข้อมูลที่น่าสนใจ [/b]คือวงจรชีวิตของเด็กไทยใน 1 วัน สิ่งแรกที่เด็ก 51% ทำหลังตื่นนอน คือการเช็กโทรศัพท์มือถือ สิ่งสุดท้ายที่เด็ก 35% ทำก่อนนอนคือใช้โทรศัพท์มือถือเล่นเฟซบุ๊กและไลน์ ซึ่งยืนยันได้จาก "บีบี" ภูษิตา พลรักษ์ พนักงานออฟฟิศวัย 23 ปี ซึ่งบอกเล่าว่า โทรศัพท์เป็นสิ่งแรกที่เธอหยิบ และเป็นสิ่งสุดท้ายที่วางก่อนนอน โดยแอพพลิเคชั่นประจำของเธอคือ เฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตาแกรม และมีกิจกรรมสำคัญคือ"ถ่ายรูป"
"ไม่รู้ว่าติดโทรศัพท์หรือเปล่า แต่เป็นสิ่งที่ห้ามลืม และแฟนชอบบ่นว่า พอไม่เจอกันก็บอกว่าคิดถึง พอเมื่ออยู่ด้วยกัน ก็เล่นแต่โทรศัพท์ [b]จนต้องตั้งกฎว่า เวลาอยู่ด้วยกันต้องห้ามเล่น"[/b] ภูษิตาเผย ถามว่า มีปัญหาที่เกิดขึ้นจากการติดโทรศัพท์ไหม?
[b]หญิงสาวตอบว่า[/b] "เคยมี ตอนนั้นเราเล่นโทรศัพท์เเชต ถ่ายรูปทั้งวันจนเเบตหมด เเล้วมารู้ทีหลังว่าจังหวะนั้นมีคนโทร.มาติดต่อให้เราไปทำงาน ซึ่งเมื่อเราโทร.กลับไป ก็พบว่าเขาเลือกคนอื่นทำงานเเทนเราไปเเล้ว"
เมื่อหมอเป็นเอง จนต้องหาทางแก้เพราะ [b]"โทรศัพท์สมาร์ทโฟน" ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไร[/b] ก็จำเป็นต้องมีเจ้าเครื่องมือนี้ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
(จากซ้าย) กรณัฐ การุณย์, ภูษิตา พลรักษ์ และ นพ.ประยูร เจนตระกูลโรจน์