'รำไทย' ห่างไกลสมองเสื่อม
[/p]
[b]"มีข้อสังเกตว่าครูที่เป็นปรมาจารย์รำไทย ลำตัดมีความจำดีหมด ไม่มีความจำเสื่อมจึงเป็นสมมุติฐานว่าการรำไทยน่าจะทำปฏิกิริยาต่อสมอง" [/b]
ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ อ.ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.มหิดล ในฐานะนักวิชาการผู้ทำโครงการวิเคราะห์คลื่นสมองเพื่อกิจกรรมทางกาย ระบุซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยทำร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อออกแบบกิจกรรมที่ว่าการเคลื่อนไหวขยับร่างกายเสริมสร้างสมรรถภาพของ สมองอย่างไร พร้อมกับค้นหาว่าการออกกำลังกายตรงส่วนไหนที่จะพัฒนาสมองแต่ละส่วน [b]จึงเป็นที่มาของการนำเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าสมองมาทำการวิเคราะห์การทำงานของ ร่างกายที่สัมพันธ์กับสมอง[/b]
ดร.ยศชนัน กล่าวอีก[b]ว่า แท้จริงร่างกายคนเราไม่ใช่มีแค่ยกแขนขาได้เพียงอย่างเดียว เรื่องความรู้สึกการมอง รวมทั้งเซลล์ประสาททั้ง 5 ของเรา การมองการฟัง ผิวสัมผัสต่าง ๆ ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องออกกำลังกายทั้งสิ้น[/b] เพราะสมองในคนเราทุกส่วนมีหน้าที่ต่างกัน สมองส่วนข้างมีหน้าที่ได้ยิน สมองส่วนหลังเป็นเรื่องการมองเห็น สมองส่วนหน้าเป็นเรื่องความตั้งใจ ด้านซ้ายออกมาเป็นเรื่องการพูด ด้านขวาเป็นเรื่องแสดงออกเชิงอารมณ์ ตรงกลางควบคุมการเคลื่อนไหว สมองกลางค่อนมาข้างหน้าเป็นลักษณะการวางแผน ก่อนที่จะถึงข้างหลังเป็นเรื่องผิวสัมผัสความรู้สึก
ดังนั้นก่อนที่จะรู้ว่าสมองส่วนไหนได้ออกกำลังกายเมื่อเราทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือสแกนคลื่นสมองแล้วนำมาเทียบกับคลื่นสมอง จากนั้นนำมาเทียบคลื่นสมองมาตรฐาน เทียบช่วงอายุเดียวกันของแต่ละคน [b]ทำให้สามารถทราบได้ว่าปริมาณสมองส่วนไหนที่ทำงานเยอะไปหรือว่าน้อยไป เมื่อผลออกมานักกิจกรรมบำบัดจะออกแบบกิจกรรมให้กับแต่ละบุคคลได้ ซึ่งใช้หลักการเดียวกับการพัฒนาสมองของเด็กออทิสติก[/b] เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการทางสมองแต่ว่าเราสามารถนำการบริหารสมองพื้นฐานแบบ เดียวกันมาสร้างเป็นเครื่องคล้ายเครื่องเล่นกีฬาออกกำลังกายต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์การบริหารสมอง
"ตรงนี้จะตอบโจทย์ความต้องการของ สสส. นอกจากนั้นเราจะเช็กว่าอุปกรณ์ที่เรามีทั้งหมดสามารถที่จะตอบโจทย์สมองหรือยัง ถ้ายังเราสามารถคิดค้นกิจกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ และวันนี้เรา[b]เสนอแนะกิจกรรมรำไทยที่สามารถทำให้ประสาททุกส่วนทำงานเหมือนกัน หมด"[/b]
ชุดอุปกรณ์ การศึกษาผลกระทบรำไทยเพื่อประยุกต์ใช้ป้องกันภาวะสมองเสื่อม"