นวัตกรรมใหม่เครื่องฉายรังสี ‘VMAT’ คัดกรอง ‘มะเร็ง’ แม่นยำเพิ่มคุณภาพการรักษา
[b]วิธีที่สอง คือการฉายรังสี[/b] ซึ่งทำได้ทั้งการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว หรือฉายร่วมกับการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับระยะของโรคขณะที่ตรวจพบ ส่วน [b]วิธีที่สาม คือการทำเคมีบำบัด[/b] ซึ่งโดยมากจะใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย ในกรณีที่การผ่าตัดเพียงอย่างเดียวอาจนำเซลล์มะเร็งออกไม่ได้ทั้งหมด
ในส่วนของเทคโนโลยีการรักษามะเร็ง แพทย์ผู้ชำนาญด้านรังสีรักษาได้กล่าวถึงพัฒนาการใหม่ของเครื่องฉายแสง ซึ่งได้เข้ามาทำให้การฉายแสงให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นไปอย่างเที่ยงตรงแม่นยำมากขึ้น ด้วย [b]เทคโนโลยี VMAT (Volumetric Modulated Arc Therapy) ที่กำหนดปริมาณรังสีครอบคลุมก้อนมะเร็งได้ทั่วถึง ลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการฉายรังสีถูกอวัยวะใกล้เคียง[/b] ด้วยการป้อนข้อมูลและควบคุมการทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้ได้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น
“เมื่อก่อนนี้เครื่องฉายแสงที่ใช้กันยังเป็นแค่ระบบสองมิติที่เราต้องคอย ปรับร่างกายของผู้ป่วยให้ได้องศาเดียวกับเครื่องฉาย หลายครั้งเราต้องจับผู้ป่วยพลิกตัวเพื่อให้ได้ปริมาณรังสีครอบคลุมทุกส่วนใน อัตราที่กำหนดไว้ จนมาถึงเทคโนโลยี IMRT ที่สามารถปรับปริมาณรังสีให้สม่ำเสมอกับรูปทรง ขนาด และความหนาหรือความบางที่ไม่เท่ากันของก้อนมะเร็งก้อนหนึ่งได้ แต่ IMRT ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของทิศทางการหมุนของตัวเครื่อง
นวัตกรรมใหม่เครื่องฉายรังสี ‘VMAT’ คัดกรอง ‘มะเร็ง’ แม่นยำเพิ่มคุณภาพการรักษา