กทม.ออกแบบกรุงเทพฯ เพื่อทุกคน...รวมถึงคนพิการ
[/p]
รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า [b]แนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคนหรือ UD เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ สิ่งของ อาคาร สถานที่ และอื่นๆ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ โดยยึดหลัก ๗ ประการ[/b] ได้แก่ [b]๑)ทุกคนใช้ได้[/b]อย่างเท่าเทียม [b]๒)มีความยึดหยุ่น[/b]ในการใช้งาน อุปกรณ์ปรับเปลี่ยนได้ เช่น ปรับระดับสูงต่ำ และความกว้างได้ เป็นต้น [b] ๓)ใช้งานง่าย ๔)มีสัญลักษณ์คนพิการ[/b]ที่เห็นได้ชัดเจน [b]๕)ลดอันตราย[/b]/มีความปลอดภัย [b]๖)มีความสะดวก[/b]ในการใช้ ไม่ต้องออกแรงมาก และ[b]๗) จัดให้มีพื้นที่ว่าง[/b]ตามความเหมาะสม
ขณะนี้ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับการออกแบบที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างมาก เช่น ประเทศแถบยุโรปได้ร่วมตัวกันจัดประกวดเมืองที่มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ( Access City Award ) [b] โดยต้องครอบคลุมการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการสาธารณะใน ๔ เรื่องหลัก[/b] ได้แก่ [b]๑)สภาพแวดล้อม[/b]ที่สร้างขึ้นและพื้นที่สาธารณะ [b]๒)การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน[/b]ที่เกี่ยวข้อง [b]๓)สารสนเทศและการสื่อสาร[/b] รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ และ[b]๔) การอำนวยความสะดวกและและบริการสาธารณะ [/b]
สำหรับประเทศไทย กฎหมายได้ให้สิทธิหน่วยงานนำค่าใช้จ่ายจากการปรับสิ่งอำนวยความสะดวกฯ ไปลดหย่อนภาษีได้ ๒ เท่าของค่าใช้จ่าย ส่วนหน่วยงานรัฐสามารถนำงบประมาณเหลือจ่ายไปใช้จัดปรับสิ่งอำนวยความสะดวกฯ ได้
ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ได้กล่าวว่า ประเทศไทยจะมีการเปลี่ยน แปลงเกี่ยวกับการจัดปรับสภาพแวดล้อม และการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการอย่างรวดเร็ว เพราะในขณะนี้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ เร่งดำเนินการในทุกระดับ เช่น [b]นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กำหนดนโยบายว่า “คมนาคมยุคใหม่ ใส่ใจคนพิการ” กทม.ก็เร่งพัฒนาสู่มหานครในฝันของทุกคน[/b] แต่ฝากให้กทม.ช่วยปรับขอบถนน/ฟุตบาทให้เป็นทางลาด และจัดปรับทางเท้า เพื่อรองรับรถเมล์ที่เป็นชานต่ำ จึงขอให้ทุกหน่วยงานติดตาม ตรวจสอบการจัดปรับสิ่งอำนวยความสะดวกฯ รวมถึงการผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมาย และนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม
รศ.มานพ พงศทัต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า [b]การจัดปรับสภาพแวดล้อมให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนทุกคน เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องช่วยกัน โดยต้องมองไปข้างหน้า[/b] ว่า ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุ และคนพิการสามารถพึ่งตนเองได้มากที่สุด โดยการปรับคนให้เข้ากับเมืองทุกเมือง หรือปรับเมืองให้ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้ ควรเริ่มเลือกจุดนำรองและพัฒนาในทุกด้าน เพื่อปรับเป็นต้นแบบก่อน เช่น ถนนย่านเยาวราช ซึ่งเป็นถนนที่มีผู้ใช้จำนวนมาก และเป็นที่รู้จักกันทั้งคนไทยและคนต่างชาติ ตลอดจนการปรับทางเดินเชื่อมต่อรถไฟฟ้า หรือสกาย วอคค์ เพื่อให้ทุกคนสามารถเดินทางได้สะดวกและปลอดภัย
นายกฤษณะ ละไล บรรณาธิการข่าวอารยสถาปัตย์ และผู้ร่วมเสวนา