อารยสถาปัตย์รถไฟไทยยุคใหม่
[/p]
[b]คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล : [/b] เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้เดินทางไปใช้บริการโดยสารรถไฟไทยครั้งแรกในรอบ 20 ปี [b]เลยถือโอกาสสำรวจอารยสถาปัตย์ของรถไฟ และสถานีรถไฟในปัจจุบันไปด้วย โดยมีคุณประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย นำชม[/b]
[u]สมัยก่อน ถ้าไปถามใครก็ตามที่นั่งวีลแชร์ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ป่วยพักฟื้น ว่าไปขึ้นรถไฟกันมั้ย ? เชื่อว่าทุกคนต้องส่ายหัว[/u] เพราะเดาได้เลยว่างานนี้ ต้องยกต้องแบกกันทั้งขึ้นทั้งล่องแหง ๆ อีกทั้ง จะเข้าห้องน้ำห้องท่าทีก็แสนยากลำบาก ทำให้การเดินทางโดยสารรถไฟของคนกลุ่มนี้ ถูกตัดขาดจากระบบรถไฟไปโดยปริยาย
[b]แต่รถไฟไทยสมัยใหม่ในปัจจุบัน กำลังลบภาพ และความรู้สึกแย่ ๆ ที่ผู้คนเคยมีมาแต่เก่าก่อนให้หมดสิ้นไป[/b] ด้วยการเร่งแก้ไข และปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการให้บริการผู้โดยสารรถไฟ ทุกกลุ่มทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย [b]โดยใช้หลัก “อารยสถาปัตย์” หรือการออกแบบที่เป็นธรรม ทั่วถึง และเท่าเทียม[/b] ด้วยการระดมสร้างทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับคนทั้งมวลทั่วทั้งระบบการโดยสารรถไฟ
เริ่มตั้งแต่ “ทุ่งวัวลำพอง” ในอดีต หรือ “หัวลำโพง” ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสถานีรถไฟเก่าแก่ที่สุด ของเมืองไทย เพราะเริ่มสร้างตั้งแต่ช่วงปลายสมัยรัชการที่ 5 แต่มาแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2459 ในสมัยรัชการที่ 6 นับถึงปัจจุบัน สถานีรถไฟหัวลำโพงมีอายุเก่าแก่ถึง 97 ปีแล้ว
สภาพโดยรวมในปัจจุบัน สถานีรถไฟหัวลำโพงยังคงเอกลักษณ์ศิลปะสถาปัตย์ในสไตล์ยุโรปคลาสสิค ยังมีอาคารเพดานโค้งโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ [b]ในแต่ละวันจะมีรถไฟวิ่งเข้ามารับส่งผู้โดยสารที่นี่ถึง 200 ขบวน มีผู้โดยสารทั้งที่เป็นคนไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มาใช้บริการสถานีรถไฟหัวลำโพงประมาณ 80,000 คน[/b] แต่ถ้าเป็นช่วงเทศกาลคงทะลุหลักแสน
กฤษนะ ละไล พาชมห้องน้ำภายในรถไฟที่รถวีลแชร์ใช้งานได้