ฮือฮา! "พ่อแม่" ยุคไอที จัดยาเด็กป่วยสมาธิสั้นให้ลูกปกติกิน หวังเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน
[/p]
[b]จากกรณีที่มีการเผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย อย่างแพร่หลายว่ายา Methylphenidate (MPH) ซึ่งเป็นยาใช้รักษากับเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นนั้น มีผู้ปกครองบางรายนำมาให้กับบุตรหลานที่เป็นเด็กปกติรับประทาน เพื่อหวังจะให้มีสมาธิเพิ่มขึ้นในการเรียน[/b]นั้น ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่าไม่เหมาะสม บางรายถึงขนาดตำหนิว่าพ่อแม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นกับลูก ในขณะที่บางคนห่วงว่าจะมีผลต่อสุขภาพหรือร่างกายของเด็กหรือไม่หากกินยาผิดประเภทเข้าไป
เกี่ยวกับเรื่องนี้ "มติชนออนไลน์" ได้[b]สัมภาษณ์ แพทย์หญิงวิมลรัตน์ วันเพ็ญ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายการแพทย์สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ซึ่งให้ความเห็นว่า[/b] สำหรับ Methylphenidate เป็นยารักษาโรคสมาธิสั้น ซึ่งมีหลายยี่ห้อ ทั้ง นี้ ยาตัวนี้ออกฤทธิ์ให้เด็กมีสมาธิขึ้น สำหรับเด็กที่ซน ไม่อยู่นิ่ง วู่วาม หุนหัน แต่ไม่ใช่กับเด็กที่เป็นออทิสติกคนละอย่างกัน
[b]"ยาดังกล่าวนี้ จะไปเพิ่ม[/b] "สารสื่อประสาท" [b]ในสมองส่วนหน้า เมื่อทานยาแล้ว เด็กก็จะมีสมาธิกลับมาดีขึ้น แต่ถ้ายาหมดฤทธิ์ ก็อาจจะกลับมาไม่อยู่นิ่งเหมือนเดิม[/b] แต่การรักษาโรคสมาธิสั้นไม่ได้หายด้วยการกินยา เพียงแต่ยาตัวนี้จะช่วยให้มีสมาธิมากขึ้น อยู่นิ่งมากขึ้น ทำให้เราผู้รักษาสามารถที่จะบอกหรือสอนสิ่งอื่นๆ เข้าไปเพิ่มในการรักษาได้ แต่ยาไม่ได้ช่วยให้หาย เพียงแต่คุมให้เด็กอยู่นิ่ง"
[b]เมื่อถามถึงการที่มีผู้ปกครองบางรายนำมาให้เด็กปกติกินจะมีผลอะไร หรือไม่อย่างไร พญ.วิมลรัตน์ กล่าวว่า[/b] คิดว่ามันไม่ได้มีผลอะไรมาก เพราะยาที่ทานสำหรับเด็กที่ไม่ปกติ เมื่อเด็กที่ปกติทานโดยที่ระดับสมาธิก็ปกติดีอยู่แล้ว ก็คงไม่ได้มีผลอะไรมาก อาจจะมีบ้างแต่คงเล็กน้อย ส่วนเมื่อทานแล้วจะส่งผลร้ายอะไรต่อร่างกายหรือไม่นั้น คิดว่าไม่มี เพราะเป็นยาที่ทานได้ไม่มีผลข้างเคียง
"แต่คิดว่าการที่นำมาให้เด็กปกติทาน ไม่ได้แก้ปัญหาจริงของเด็กคนนั้น เพราะต้นตอของปัญหาเด็กน่าจะเป็นการที่ขาดความตั้งใจ มากกว่าที่ป่วยทางสมอง ฉะนั้น [b]ถ้าทานยาเข้าไปก็อาจจะมีผลต่อสมองเมื่อยาหมดฤทธิ์ก็ไม่มาสมาธิ แต่ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องความตั้งใจหรือนิสัยของเด็กคนนั้น[/b] [u]ดังนั้น การแก้ปัญหาเด็กปกติที่ไม่มีสมาธิควรจะใช้วิธีการฝึกฝน พูดคุย ทำความเข้าใจ มากกว่าที่จะใช้ยาหรือสารเคมีช่วย ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุดมากกว่า"[/u]
แพทย์หญิงวิมลรัตน์ วันเพ็ญ