เรื่องน่ารู้ กฎกระทรวง สำหรับผู้พิการคนชรา
[/p]
เทคโนโลยีทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลที่พัฒนาขึ้นทำให้ประชากรอายุยืน มากกว่าในอดีต แต่กลับสวนทางกับอัตราการเกิดที่มีแต่ลดน้อยถอยลง [b]หลายประเทศที่พัฒนาแล้วก็เผชิญกับจำนวนผู้สูงอายุที่มากขึ้น สังคมไทยก็ไม่แตกต่างกัน[/b] การเตรียมความพร้อมในเรื่องสาธารณูปการเป็นสิ่งจำเป็น และไม่สามารถสร้างได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
[b]กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือ ทุพพลภาพและคนชรา พ.ศ. 2548[/b] สถานที่ดังต่อไปนี้ โรงพยาบาล สถานพยาบาล สถานีอนามัย อาคารที่ทำการของราชการ รัฐวิสาหกิจ สถานศึกษา หอสมุด สถานีขนส่งมวลชน ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ ท่าเทียบเรือ ที่มีพื้นที่ส่วนใดของอาคารที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเกิน 300 ตร.ม. สำนักงาน โรงแรม โรงมหรสพ หอประชุม สนามกีฬา ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ที่[b]มีพื้นที่ส่วนใดของอาคารที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเกิน 2,000 ตร.ม. ต้องมีสาธารณูปการรองรับผู้พิการ ดังตัวอย่าง 20 ข้อกำหนดในการออกแบบ[/b] ดังต่อไปนี้
[ub]ป้ายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวก[/ub] - [b]1.ต้องมีสัญลักษณ์[/b]รูปผู้พิการ ให้เป็นสีขาวบนพื้นป้ายสีน้ำเงิน หรือสีน้ำเงินบนพื้นป้ายสีขาว และ [b]2.มีแสงส่องสว่าง[/b]ทั้งกลางวันและกลางคืน
[ub]ทางลาดและลิฟต์[/ub] - [b]3.ผิวทางลาด[/b]เป็นวัสดุไม่ลื่น [b]4.ความชัน[/b]ไม่เกิน 1:12 ความยาวช่วงไม่เกิน 6 ม. ถ้าเกินต้องมีชานพักยาวไม่น้อยกว่า 1.50 ม.[b]5.กว้าง[/b]ไม่น้อยกว่า 90 ซม. ถ้าความยาวรวมเกิน 6 ม. ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 ม. [b]6.ทางลาด[/b]ที่ยาวเกิน 2.50 ม. ต้องมีราวจับทั้งสองด้าน ราวจับต้องกลม สูงไม่น้อยกว่า 80 ซม. ไม่เกิน 90 ซม.[b] 7.ห้องลิฟต์[/b]กว้างไม่น้อยกว่า 1.10 ม. ยาวไม่น้อยกว่า 1.40 ม. [b]8.ประตูลิฟต์[/b]กว้างไม่น้อยกว่า 0.90 ม. และมีระบบป้องกันลิฟต์หนีบผู้โดยสาร [b]9.ปุ่มกดเรียกลิฟต์[/b] ปุ่มบังคับลิฟต์ ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 0.90 ม. ปุ่มบนสุดสูงไม่เกิน 1.20 ม. และ10.ขนาดปุ่มมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 2 ซม. มีอักษรเบรลกำกับ เมื่อกดต้องมีเสียงดังและมีแสง
[ub]บันได[/ub] - [b]11.กว้าง[/b]ไม่น้อยกว่า 1.50 ม. มีชานพักทุกระยะแนวดิ่งไม่เกิน 2 ม. [b]12.มีราวจับ[/b]ทั้งสองข้าง ลูกตั้งสูงไม่เกิน 15 ซม. ลูกนอนไม่น้อยกว่า 28 ซม. [b]13.ผิวบันได[/b]เป็นวัสดุไม่ลื่น และลูกตั้งบันไดห้ามเปิดเป็นช่องโล่ง
[ub]ที่จอดรถ [/ub]- [b]14.ที่จอดรถ[/b]ตั้งแต่ 1050 คัน ต้องมีช่องจอดรถผู้พิการ คนชรา อย่างน้อย 1 ช่อง [b]15.ที่จอดรถ[/b]ตั้งแต่ 51100 คัน ต้องมีช่องจอดรถผู้พิการ คนชรา อย่างน้อย 2 ช่อง [b]16.ที่จอดรถ[/b]เกินกว่า 101 คัน ให้เพิ่มช่องจอดรถคนพิการ คนชรา 1 ช่อง ทุกๆ จำนวนรถ 100 คัน เศษเกินกว่า 50 คันให้คิดเป็น 100 คัน [b]17.ใกล้ทางเข้าออก[/b]อาคารที่สุด ระดับพื้นเสมอกัน มีป้ายบอกยาวไม่น้อยกว่า 6 ม. กว้างไม่น้อยกว่า 2.4 ม. และมีช่องว่างข้างรถอีก 1 ม. ตลอดแนวยาวที่จอด [ub]ประตู[/ub] - [b]18.กว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม.[/b] ถ้ามีธรณีประตู ห้ามสูงเกิน 2 ซม. และให้ขอบลาดไม่เกิน 45 องศา [b]19.กรณีประตู[/b]เป็นบานเปิดผลักเข้าออก เมื่อเปิดออกสู่ทางเดินหรือระเบียงต้องมีที่ว่าง กว้าง ยาว ไม่น้อยกว่า 1.50 ม. [b]และ 20.กรณีประตู[/b]บานเลื่อนต้องมีมือจับทั้งด้านในนอก สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1 ม. ปลายด้านล่างไม่เกิน 0.80 ม.
ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนมาก ล้วนให้ความสำคัญกับผู้พิการ คนชรา และผู้ทุพพลภาพ ซึ่งการพัฒนาบ้านเมืองนั้นเป็นส่วนหนึ่ง แต่[b]สิ่งที่สำคัญที่สุด คือเรื่องการพัฒนาทางด้านจิตใจ ซึ่งรวมถึงตัวผู้พิการ ผู้คนในสังคมที่ให้การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน[/b]
ภาพสเก็ตสิ่งอำนวยความสะดวกภายในอาคาร