สธ.ชวนคนไทยทำ “ส้วมเพื่อแม่” เปลี่ยนจากแบบนั่งยองเป็นนั่งราบ
นายสรวงศ์ กล่าวอีกว่า จากสถิติผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อในไทยของมูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบว่า ปี 2549 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมกว่า 6 ล้านคน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี [b]ปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งเกิดจากการใช้ส้วมนั่งยองติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หลายปี ซึ่งเป็นพฤติกรรมการขับถ่ายของคนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน โดยมีส้วมนั่งยองในครัวเรือนร้อยละ 86.0 ส้วมนั่งราบ หรือส้วมห้อยขา มีเพียงร้อยละ 13.2 ของครัวเรือนทั้งหมด ในปี 2553[/b] สธ.โดยกรมอนามัยจึงได้ให้ความสำคัญเรื่องของสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูง อายุ จึงจัดทำแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2556 เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนมีและใช้ส้วมนั่งราบ หรือมีอุปกรณ์ช่วยสำหรับผู้สูงอายุและผู้มีปัญหาข้อเข่าให้ได้ร้อยละ 90 และส้วมสาธารณะให้ได้ร้อยละ 100ภายในปี2559
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า [b]ช่วงวันแม่แห่งชาติปีนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่คนไทยจะได้รำลึกถึงความสำคัญกับสุขภาพของพ่อแม่ และผู้สูงอายุในบ้านที่มีปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อม เพื่อลดและชะลอการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ[/b] กรมอนามัยจึงร่วมกับมูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อเมริกัน สแตนดาร์ด บี แอนด์ เค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และ บริษัท แอล แอนด์ เอช พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด [u]ส่งเสริมให้คนไทยมีและใช้ส้วมนั่งราบหรือส้วมห้อยขาเพิ่มมากขึ้น พร้อมขอความร่วมมือให้สถานที่สาธารณะพัฒนาและปรับปรุงส้วมให้มีส้วมนั่ง ราบอย่างน้อย 1 ที่ ไว้บริการประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพ ผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไปรวมทั้งส่งเสริมประชาชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการใช้ส้วมอย่างถูกต้อง[/u]
คุณยายที่ทดลองเป็นแบบในการทดลองใช้ส้วมแบบนั่งราบ