ห่วงโรคระบาดดื้อยา แนะนำรับภัยพิบัติรุนแรง
[/p]
โครงการ ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก (WHO-RTG) แผนงานการจัดการทางด้านภัยพิบัติ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของบุคลากรทางการแพทย์หลายฝ่าย โดยมีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลัก จัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับการรับมือภัยพิบัติ เรื่อง "ความท้าทายของระบบบริการการแพทย์ไทยในการจัดการภัยพิบัติ"
ดร.พิจิต ต รัตตกุล ผอ.บริหารศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย เตือนว่า ในอนาคตภัยพิบัติจะเปลี่ยนไป โดยจะมีความถี่มากขึ้น รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นขั้นตอนการรับมือภัยพิบัติแบบเดิมๆ อาจไม่เพียงพอแล้ว จากสถิติของภัยพิบัติทั่วๆ ไป พบว่ามีผู้เสียชีวิตในขณะเกิดภัยพิบัติประมาณ 2 ใน 3 ขณะที่อัตราผู้เสียชีวิตภายหลังเกิดภัยพิบัติสูงถึงร้อยละ 30
"ภัย พิบัติที่ไทยกำลังจะเผชิญ คือ ภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรง ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนอย่างมาก เช่น ภัยจากภาวะแห้งแล้ง ก่อให้เกิดโรคระบาดที่ดื้อยา โรคระบาดที่มากับน้ำท่วมขังยาวนาน หรือในเขตเมืองก็เกิดปรากฏการณ์โดมแห่งความร้อน จากกิจกรรมที่ระบายความร้อนหรือมลพิษ เช่น แอร์คอนดิชั่น ไอเสียรถยนต์ เมืองก็จะร้อนมาก" ดร.พิจิตต กล่าวสรุป
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการ สพฉ. เสริมว่า ประเทศไทยยังขาดระบบการจัดการภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมในหลายระดับ ทั้งระดับความร่วมมือระหว่างนานาชาติ ระดับประเทศไปจนถึงระดับชุมชน
คู่มือรับภัยพิบัติ