คนไทยทำได้! 'SenzE' เครื่องช่วยสื่อสารผ่านดวงตา ถูกกว่าดีกว่าเพื่อคนไทย
[/p]
ตามทีมข่าวไอทีออนไลน์ ไปทำความรู้จักอุปกรณ์ช่วยสื่อสาร พัฒนาโดยคนไทย แต่ประสิทธิภาพแซงหน้าต่างชาติมั่นใจคุณภาพดีกว่าราคาถูกกว่าแถมปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียง...ต้องยอมรับว่าการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน แต่ละวันเราใช้เทคโนโลยีกันอย่างสุรุ่ยสุร่าย โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เห็นใช้งานกันบ่อยครั้งและแพร่หลายทั่วโลก เพราะไม่เพียงประโยชน์ด้านการติดต่อสื่อสาร แต่ยังช่วยทำให้คนอยู่ต่างภูมิภาค ต่างประเทศได้ใกล้ชิดกัน เสมือนทำให้โลกแคบลง แต่หากจะบอกว่า [b]ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถฟื้นความสามารถในการสื่อสารให้แก่ผู้ป่วย และผู้ที่สูญเสียความสามารถในการสื่อสาร ทั้งการพูด การเขียน ให้กลับมาสื่อสารกับผู้อื่นได้อีกครั้ง คุณจะเชื่อหรือไม่!!! [/b]
"ทีมข่าวไอทีออนไลน์" กำลังจะพาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับ[b]อุปกรณ์ที่เรียกว่า "SenzE" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่[ub]ช่วยในการสื่อสารผ่านทางสายตาสำหรับผู้ป่วยอัมพาต[/ub] โดยเป็นเครื่องแรกของโลกที่ทำงานด้วยซอฟต์แวร์ภาษาไทย[/b] ถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นที่มนุษย์สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยให้ผู้ที่ไม่ สามารถสื่อสาร ได้กลับมาสื่อสารแสดงความรู้สึกความต้องการได้ดังเดิมด้วยแนวคิดในการผลิตและพัฒนาโดยฝีมือคนไทย
ซึ่งในครั้งนี้ นายปิยะศักดิ์ บุญคมรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด ผู้คิดค้นวิจัย ผลิต และจัดจำหน่ายอุปกรณ์ SenzE ได้เล่าถึงแนวคิด ประโยชน์ที่น่าสนใจ รวมถึง[b]ความสำเร็จของอุปกรณ์ดังกล่าว ที่คนไทยสามารถผลิตได้เป็นประเทศที่ 3 ของโลก และเป็นเครื่องแรกในเอเชีย[/b] ให้ผู้อ่านทุกท่านได้ติดตามและชื่นชมไปพร้อมกัน...
[b]ประดิษฐ์เครื่องให้คนใกล้ตัวแต่พัฒนาจนได้รับทุนนวัตกรรม! [/b] ก่อนหน้านี้ผมทำธุรกิจด้านไอที บริษัท บางกอกโซลูชั่น จำกัด โดยจัดทำซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น เว็บไซต์ให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จนกระทั่งเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ที่พบว่าพ่อของเพื่อนคนหนึ่งเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้สูญเสียความสามารถในการควบคุมอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ส่งผลให้ไม่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้เลยทั้งการพูดและการเขียน [b]เพื่อนคนดังกล่าวจึงได้มาปรึกษากับผมว่าจะมีเทคโนโลยีอะไรเพื่อช่วยเหลือให้พ่อของเขาสามารถกลับมาสื่อสารได้อีกครั้ง[/b]
หลังจากได้รับโจทย์ดังกล่าว ผมได้ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลจนกระทั่ง[b]พบว่ามีเทคโนโลยีการตรวจจับดวงตา (Eye Tracking System) ที่ใช้ประโยชน์จากการสื่อสายด้วยสายตา[/b] แต่ในต่างประเทศเองก็มีการพัฒนาไม่มากนัก โดยพบว่ามีในอเมริกาและสวีเดน แต่ในเอเชียหรือไทยยังไม่มีใครทำเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างจริงจัง [b]จึงนำไอเดียดังกล่าวไปเสนอสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ เอ็นไอเอ เมื่อปี 2554 และได้รับทุนให้เปล่าสนับสนุนราว 500,000 บาทมาในที่สุด เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ SenzE[/b] สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยที่สูญเสียความสามารถทางการสื่อสาร อาทิ ผู้ป่วยอัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง บาดเจ็บทางสมอง ซึ่งมีมากกว่า 900,000 รายในประเทศไทย
อุปกรณ์ SenzE