นั่งเรียนบนวีลแชร์ – อินไซด์แคมปัส
“กลุ่มนายทหารเฉพาะที่ผมไปดู 4 ราย บางคนบาดเจ็บหนักช่วงบน บางคนก็ช่วงล่าง แต่ทุกคนมีอาการเดียวกันคือ[b]ไม่สามารถขยับร่างกายได้เอง ทำให้ต้องนอนนิ่ง ๆ อย่างเดียว[/b] วันทั้งวันมองเห็นแต่เพดาน ซึ่งในทางการแพทย์อาจเกิดภาวะเจ็บป่วยแทรกซ้อนได้โดยเฉพาะปัญหาแผลกดทับ ซึ่งหากผมผลิตอุปกรณ์ช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นได้แม้เพียงขยับขึ้นมาดูทีวีหรือเคลื่อนที่ไปอาบน้ำได้ก็ทำให้พวกเขามีความสุขแล้ว”
อ.เดชฤทธิ์ เล่าต่อไปว่า จากจุดเริ่มต้นในการลงพื้นที่ครั้งนั้น ก่อให้เกิดเป็นความร่วมมือในการ[b]จัดทำโครงการวิจัยการพัฒนาออกแบบประดิษฐ์ชุดช่วยพยุงเดินสำหรับผู้ป่วยราชการสนามที่มีความพิการช่วงเอวลงมา และโครงการวิจัยการพัฒนาออกแบบรถเข็นไฟฟ้าอัตโนมัติแบบอัจฉริยะสำหรับผู้พิการขั้นรุนแรง[/b]ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย ภายใต้งบประมาณ 2 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในสิ้นปีงบประมาณ2556นี้
อย่างไรก็ตามไม่เพียงการใช้องค์ความรู้ที่มีให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มนายทหาร เท่านั้น แต่อาจารย์ยังมีหลักคิดในการเพาะบ่มลูกศิษย์ให้ตระหนักถึงความสำคัญในการช่วยเหลือบุคคลพิการทั่วไปด้วย...น.ส.สิรินันท์ ดวงจันทร์ หรือ “นันท์” นักศึกษาชั้นปีที่ 2 เล่าว่า [b]ห้องเรียนของ อ.เดชฤทธิ์ มีความแปลกจากห้องเรียนอื่นตรงที่ในแต่ละคาบเรียนจะมีนักศึกษา 2 คน ต้องรับบทเป็นคนพิการ ด้วยการนั่งวีลแชร์แทนการนั่งเก้าอี้เรียน เพื่อให้ซึมซับว่าการเป็นคนพิการนั้นเป็นอย่างไร[/b] ซึ่งตนคิดว่าแม้เพียงการนั่งรถเข็นคนพิการแค่ไม่กี่ชั่วโมง แต่ก็สร้างจิตสำนึกให้แก่ตนได้ อย่างน้อยก็ซาบซึ้งสิ่งที่อาจารย์ทำอยู่ว่าทำเพื่อคนพิการนะ ทำให้เขาใช้ชีวิตให้สบายขึ้นดังนั้นถ้านักศึกษามีโอกาสก็ควรช่วยกันทำสิ่งดีๆแบบนี้
นักศึกษานั่งเรียนบนรถเข็นวีลแชร์ในห้องเรียน