เทคนิคดูแลเด็กออทิสติกครบวงจร รพ.ระนอง “รู้เร็ว พัฒนาได้ ไม่บ้าตอนโต”
หลายคนอาจเคยผ่านตากับข่าว การกักขังหน่วงเหนี่ยว การใช้โซ่ล่ามพันธนาการผู้ป่วยจิตเวช หรือคนบ้าเอาไว้ภายในบ้านตามหน้าจอโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะคิดว่า เป็นบ้าเพราะเกิดเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง หรือเกิดจากการใช้ยา [b]แต่แท้จริงแล้วผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่ “บ้า” เพราะการป่วยด้วย “โรคออทิสติก” เพราะไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือเข้าไม่ถึงบริการ[/b]
สำหรับ[b]โรคออทิสติก เป็นโรคทางจิตเวชเด็ก คือเด็กที่มีการพัฒนาการล่าช้า หรือมีพัฒนาการบกพร่องอย่างรอบด้าน[/b] จะแสดงอาการชัดเจนในวัยเด็ก ทำให้พัฒนาการด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสารไม่เป็นปกติ
ทั้งนี้ [b]อุบัติการณ์ของเด็กออทิสติก พบได้ 1:2,000 ของประชากรเด็ก[/b] พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4-5 เท่า แต่ในเด็กหญิงมักมีความรุนแรงมากกว่า และจากข้อมูลจำนวนผู้ป่วยนอกออทิสติกของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พบว่า ปี 2553 มีผู้ป่วยนอกออทิสติก 6,753 คน มารับบริการ 28,005 ครั้ง ปี 2554 จำนวน 12,531 คน มารับบริการ 75,817 ครั้ง และปี 2555 จำนวน 15,234 คน มารับบริการ 108,298 ครั้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่า[b]มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยระดับของเด็กออทิสติก นางปิยนุช อิสริยะวาณิช พยาบาลชำนาญการพิเศษ รพ.ระนอง ระบุว่า มี อยู่ทั้งหมด 3 ระดับ[/b] คือ [b]1.รุนแรง[/b] คือเด็กจะไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ ต้องมีผู้ดูแล เพราะมีอาการและพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง ต้องใช้ยาริสเพอริโดน (Risperidone) เพื่อควบคุมพฤติกรรม ร่วมกับการบำบัดและพัฒนา ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา เมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นผู้ป่วยจิตเวช 100% [b]2.ปานกลาง[/b] เด็กสามารถดูแลตัวเองได้ อาจต้องจ่ายยาตามอาการ และ [b]3.น้อย[/b] เด็กอาจไม่ต้องใช้ยาเพื่อควบคุมพฤติกรรม เพียงแต่ใช้วิธีการบำบัดและพัฒนาเท่านั้น แต่หากมีอาการสมาธิสั้นร่วมด้วยก็จำเป็นต้องใช้ยา
น.ส.ทิพยา สุขเต็ม ชาวระนอง กับลูกชายคนโตที่ป่วยเป็นออทิสติก