การขจัดอุปสรรคทั้งปวง เพื่อร่วมกัน ‘สร้างสังคมที่ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างเท่าเทียมกัน’
[b]ในการศึกษาดูงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาคนพิการโดยชุมชน[/b] ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) พบว่าครอบครัวและชุมชนมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ร่วมกันในการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนพิการ มีการปรับสภาพที่อยู่อาศัยของคนพิการ จัดบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ จัดสิ่งอำนวยความสะดวกในบ้านและชุมชน เพื่อให้คนพิการสามารถร่วมกิจกรรมทางสังคมได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป บริการให้คำปรึกษาต่าง ๆ เพื่อให้คนพิการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย บริการเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยทีมสหวิชาชีพ การค้นหาผู้พิการรายใหม่ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข รวมทั้งคุ้มครองสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการศึกษา การฝึกอาชีพ และการกู้ยืมเงินประกอบอาชีพจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทั้งกรณีรายบุคคล วงเงินกู้ไม่เกินรายละ ๔๐,๐๐๐ บาท และกรณีรายกลุ่ม วงเงินกู้ไม่เกินกลุ่มละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ชำระภายใน ๕ ปี และไม่คิดดอกเบี้ย โดย[b]มีเจ้าหน้าที่นิติกรประจำสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมาย[/b] เช่น การขึ้นทะเบียนรับเบี้ยความพิการ การแก้ปัญหาเรื่องหนี้สิน และการเปลี่ยนแปลงสิทธิผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวผู้พิการ เป็นต้น
[b]คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาดูงาน ณ มูลนิธิชุมชนสงขลา เพื่อนำเรื่องการจัดการภัยพิบัติมาเป็นหนึ่งในเครื่องมือในการร่วมกันสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน[/b] ซึ่งมูลนิธิชุมชนสงขลาได้นำเสนอกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติ ของชุมชนสงขลา เช่น การเตรียมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติโดยใช้ชุมชนเป็นฐานด้วยการเตรียมข้อมูล เพื่อสนับสนุนงานของทุกภาคส่วนและเป็นฐานส่งเสริมงานขององค์กรด้านคนพิการ ด้วย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศมาดำเนินการศึกษาระบบเมือง สภาพภูมิอากาศ ศักยภาพของเมืองและกลุ่มเสี่ยง เป็นต้น เมื่อเกิดภัยพิบัติก็พร้อมสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ให้หน่วยงานภาครัฐได้ทันที ทั้งนี้ การทำงานของมูลนิธิฯ จะตอบโจทย์หลักๆ ในเรื่องภัยพิบัติที่ประชาชนสนใจและได้รับผลกระทบเป็นหลักก่อน ส่งผลให้ประชาชนมีความพร้อมและตื่นรู้สู่การเตรียมรับภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกันซึ่งจะ ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วไปและคนพิการให้มาเที่ยวด้วย อันเป็นการสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างแท้จริง
[b]ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและประกอบชิ้นส่วนเครื่องช่วยคนพิการ จังหวัดนครศรีธรรมราช คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาดูงาน และพบว่าเป็นศูนย์ที่มีความเข้มแข็ง[/b] มีภูมิปัญญาในด้านการจัดการซ่อมบำรุงเครื่องช่วยคนพิการ มีช่างที่เป็นคนพิการทำงานประจำ รับซ่อมเครื่องช่วยคนพิการหลายประเภท พร้อมทั้งบริการออกแบบเก้าอี้เข็นให้เหมาะสมกับร่างกายคนพิการแต่ละคน มีน้ำหนักเบาและราคาถูกกว่าท้องตลาด โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อนึ่ง [b]คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ให้ข้อสังเกตว่า เพื่อให้ศูนย์สามารถเลี้ยงดูตนเองได้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ควรมีการบริหารจัดการที่ดี ตลอดจนมีการจัดทำบัญชีค่าใช้จ่าย การขายและต้นทุนกำไรด้วย[/b]
[b]การศึกษาดูงาน ณ โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน ณ บ้านเหมืองทอด[/b] ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่ามีการดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการที่เป็นอาสาสมัครเข้ามาร่วมกันทำ งาน โดยกำหนดหน้าที่สำคัญ ดังนี้ (๑) การค้นหาคนพิการในชุมชนท้องถิ่นที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการของรัฐให้ออกมา ใช้สิทธิตามกฎหมาย (๒) การสร้างเครื่องออกกำลังกาย และเครื่องฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น และ(๓) การฝึกอาชีพ เช่น การจัดทำเหรียญโปรยทาน ยาดม และดอกไม้ประดับ ซึ่งได้รับการช่วยเหลือทางการตลาดจากหลายหน่วยงาน อนึ่ง [b]ประชาชนที่มาร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้นำเสนอปัญหาการจัดการด้านคนพิการ[/b] ดัง นี้ ๑. ศูนย์บริการด้านคนพิการมีน้อยเกินไปในแต่ละจังหวัด และทั้งจังหวัดมีผู้ช่วยคนพิการที่ทำงานเต็มเวลาเพียง ๕ คนต่อจังหวัด ควรมีการพิจารณาตามความเป็นจริงเพราะในจังหวัดใหญ่ ๆ ย่อมมีคนพิการมาก ๒. ควรมีการเรียนการสอนโดยครูการศึกษาพิเศษในชุมชนที่คนพิการอยู่ เพราะการเดินทางไปศึกษาในโรงเรียนเฉพาะความพิการส่วนมากจะอยู่พื้นที่ห่าง ไกล ผู้ปกครองไม่สะดวกที่จะเดินทางไปเยี่ยมและการเดินทางไป - กลับแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายสูง หากมีการรวมกลุ่มหรือจัดการศึกษาให้กับคนพิการในพื้นที่ได้จะเป็นการลดภาระ ให้กับผู้ปกครองและผู้ดูแลคนพิการเป็นอย่างมาก
ศึกษาดูงานศูนย์ซ่อมบำรุงและประกอบชิ้นส่วนเครื่องช่วยคนพิการ จังหวัดนครศรีธรรมราช