จอประสาทตาเสื่อม ตาบอด กู่ไม่กลับ
โรคจอประสาทตาเสื่อม Age-related macular degeneration (AMD) เป็น โรคที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณจุดศูนย์กลางรับภาพของจอประสาทตา พบมากในกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเกิดการสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม [b]โรคจอประสาทตาเสื่อมจะทำให้สูญเสียการมองเห็นเฉพาะภาพตรงกลาง โดยที่ภาพด้านข้างของการมองเห็นยังดีอยู่[/b] เช่น อาจเห็นขอบของนาฬิกา แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเวลาอะไร ดังนั้นโรคจอประสาทตาเสื่อมจะไม่ทำให้การมองเห็นมืดสนิทไปทั้งหมด
[b]ปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมมีหลายอย่าง ได้แก่[/b] คนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป, มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมกับคนที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม, นอกจากนั้นยังพบอุบัติการของโรคสูงสุดในคนผิวขาว เพศหญิง ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี, มีหลักฐานทางการศึกษาพบว่าการสูบบุหรี่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด โรคอย่างชัดเจน, คนไข้ที่ต้องทานยาลดความดันเลือด และมีระดับของไขมัน Cholesterol ในเลือดสูงและระดับ Carotenoid ในเลือดต่ำ มีความเสี่ยงสูงมากต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม แบบสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว (Wet AMD), ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้รับประทานยาฮอร์โมน estrogen ถูกพบว่าอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน และนักวิจัยยังพบว่าการขาดวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญบางชนิดที่เกี่ยวข้อง กับการต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี และอี หรือเกลือแร่ที่มีส่วนสำคัญในการมองเห็น เช่น แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ลูทีน (lutein) และซีแซนเทียม (zeaxanthium) ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดจอประสาทตาเสื่อมได้อีกด้วย
นายแพทย์ธนภัทร กล่าวว่า [b]ผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อม จะมีลักษณะโรค 2 รูปแบบด้วยกันคือ 1. แบบแห้ง (Dry AMD) [/b] เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุด จะมีการเสื่อมสลาย และบางลงของจุดกลางรับภาพจอประสาทตาจากขบวนการเสื่อมตามอายุ ความสามารถในการมองเห็นจะค่อยๆ ลดลง และเป็นไปอย่างช้าๆ [b]2. แบบเปียก (Wet AMD) [/b] พบประมาณ 10-15 % ของโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้งหมด แต่มีลักษณะการเกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว และเป็นสาเหตุสำคัญของการตาบอดในโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งเกิดจากการที่มีเส้นเลือดผิดปกติงอกอยู่ใต้จอประสาทตา ทำให้จุดกลางรับภาพบวม [b]คนไข้จะเริ่มมองเห็นภาพตรงกลางบิดเบี้ยว และมืดลงในที่สุดเมื่อเซลล์ประสาทตาตาย[/b] สำหรับคนไข้บางรายที่หมอเคยเจอว่าเป็นหนักๆ คือมีภาวะเลือดออกภายในลูกตาแบบล้นทะลักทั่วลูกตา ส่งผลให้มองให้เห็นภาพใดๆ เลย ก็ต้องเร่งทำการผ่าตัดเพื่อห้ามเลือดภายในลูกตาเสียก่อน และจึงทำการรักษา ซึ่งช่วงเวลาที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็คือ ช่วงหลังการผ่าตัด เนื่องจากคนไข้ต้องดูแลแผลผ่าตัดให้ดี มิฉะนั้นหากเกิดการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัดอาจเป็นผลทำให้เข้าสู่ภาวะ วิกฤติได้
สื่อทางการแพทย์ ภาพโมเดลดวงตาของผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อม