ปั้น"ลูกอัจฉริยะ" เด็กแอสเพอร์เกอร์
[/p]
[b]"แอสเพอร์เกอร์" หนึ่งในความผิดปกติที่อยู่ในกลุ่มของ "ออทิสติก"[/b] ที่พ่อแม่หลายคน เมื่อได้ยินคำนี้มักกังวลใจเนื่องจากมีความเชื่อฝังใจกับความหมายเชิงลบ เกี่ยวกับโรคออทิสติก ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วผู้ที่ป่วย[b]เป็นแอสเพอร์เกอร์สามารถดำเนินชีวิตและประสบความสำเร็จได้ไม่น้อยกว่าคนปกติทั่วไปเพียงแต่พ่อและแม่หรือผู้เลี้ยงดูต้องเข้าใจและดูแลช่วยเหลือถูกวิธี[/b]เชื่อหรือไม่ว่าอัจฉริยะระดับโลกหลายคนมีประวัติเข้าข่ายการเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์ อาทิ นักฟิสิกส์ชื่อก้องโลก "ไอน์สไตน์" นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วง "เซอร์ไอแซ็ก นิวตัน" รวมถึงผู้กำกับฯ มือทองพ่อมดฮอลลีวู้ด"สตีเว่นสปีลเบิร์ก"
เมื่อไม่นานนี้โรงพยาบาลมนารมย์[b]จัดบรรยายหัวข้อ "เปิดโลกแอสเพอร์เกอร์"[/b] โดย พญ.กมลชนก เหล่าชัยศรี จิตแพทย์เด็กประจำโรงพยาบาลมนารมย์ พญ.กมลชนกกล่าวว่าในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าแอสเพอร์เกอร์เกิด จากสาเหตุใด แต่ที่แน่ๆ คือไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดู[b] มีงานวิจัยในต่างประเทศพบว่าในปัจจุบันมีผู้ป่วยในกลุ่มภาวะความผิดปกติประเภทออทิสติก (Autistic Spectrum) เฉลี่ยประมาณร้อยละ1และพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง[/b]
ผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์ส่วนใหญ่ มีความสามารถทางสติปัญญาในเกณฑ์ปกติ บางรายอยู่ในขั้นดีเลิศ โดยพฤติกรรมผิดปกติของแอสเพอร์เกอร์คือ [b]ปัญหาด้านพัฒนาการของทักษะทางสังคม ซึ่งพ่อแม่ ครูและผู้ปกครองสามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่วัยเด็กในช่วงตั้งแต่เด็กเริ่มหัดพูด [/b]
[b]"เด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์จะไม่สามารถเข้าใจความรู้สึก ความต้องการของผู้อื่น จึงพูดแต่ในแง่มุมของตัวเองเท่านั้น[/b] ซึ่งไม่ใช่ลักษณะการพูดคุยสื่อสารทางสังคมแบบโต้ตอบที่มีลักษณะถ้อยทีถ้อย อาศัยและมักดำเนินกิจวัตรประจำวันรูปแบบเดิมซ้ำๆไม่เปลี่ยนแปลง
หากมีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันที่แตกต่างไปจากเดิมจะเกิดความเครียดขึ้นทันที ซึ่งบางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นหงุดหงิด โกรธ อาละวาด [b]เมื่อพบว่าเด็กมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับลักษณะดังกล่าวควรให้แพทย์วินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยการตรวจร่างกาย ระบบประสาท พัฒนาการและสภาพจิตเพื่อประเมินและหาแนวทางช่วยเหลือ[/b]"พญ.กมลชนกกล่าว
นอกจากภาวะด้านการสื่อสารและด้านสังคมที่พบได้แล้ว [b]เด็กที่ป่วยด้วยโรคแอสเพอร์เกอร์อาจพบอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่[/b] พฤติกรรมก้าวราว ทำร้ายตัวเอง ย้ำคิดย้ำทำ อารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล หากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยอาจต้องใช้ยาร่วมกับพฤติกรรมบำบัดในการรักษา
"การช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ในด้านพัฒนาการทางสังคม จะต้องสอนทักษะการปฏิบัติตัวทางสังคมในชีวิตประจำวัน สอนวิธีการแก้ไขสถานการณ์ที่พบบ่อยและเป็นปัญหา การช่วยสอนให้รับรู้ว่าคนอื่นคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร [b]รวมถึงสอนให้ประเมินพฤติกรรมของตนเองว่าเหมาะสมเพียงใด และสอนให้เข้าใจความเกี่ยวโยงของสถานการณ์กับความรู้สึกด้วย[/b]
นอกจากนี้เด็กแอสเพอร์เกอร์ควรได้รับความร่วมมือจากครูและสถานศึกษาด้วย รวมทั้งการช่วยเหลือและทำความเข้าใจกับเพื่อนร่วมชั้นของเด็ก ครูผู้สอนควรใช้วิธีการสื่อสารที่สั้น ชัดเจน ตรงประเด็น และต้องตรวจสอบความเข้าใจของเด็กทุกครั้ง รวมถึง[b]การสอนให้เด็กมีทักษะโต้ตอบทางสังคมในเรื่องกฎกติกา มารยาท สิทธิส่วนบุคคล การปฏิบัติตนกับคนแปลกหน้า และการแสดงออกต่างๆ กับบุคคลอื่น[/b]" พญ.กมลชนกกล่าว
ภาพประกอบข่าว แม่กำลังปลอบโยนลูกชาย