ม.ออทิสติกไทยระดมพล...พัฒนาหลักสูตรเพื่อการมีงานทำของบุคคลออทิสติก
[b]นายกุลธร เลิศสุริยะกุล[/b] ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) กล่าวว่า กศน.ขาดบุคลากรด้านการศึกษาพิเศษ ทำให้ภาครัฐทั้งที่มีบทบาทโดยตรงในการส่งเสริมบุคคลออทิสติก แต่กลับเป็นการริเริ่มจากมูลนิธิออทิสติกไทย และ[b]การประชุมในครั้งนี้เป็นการ “พัฒนาหลักสูตรเพื่อการมีงานทำ” ซึ่งเป็นงานท้าท้าย[/b] เพราะเป้าหมายเดิมของกศน.นั้นมุ่งสนับสนุนให้บุคคลออทิสติกมีทักษะในการดำรงชีวิตเท่านั้น เพราะคิดว่าการพัฒนาให้สามารถประกอบอาชีพได้นั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากสำหรับบุคคลออทิสติก จึงนับเป็นเรื่องที่ท้าท้ายและสร้างแรงบันดาลใจให้กับ กศน. ซึ่ง[b]สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนแนวคิดและนโยบายของกศน.ในปัจจุบัน ที่เน้นคุณภาพของผู้เรียน โดยเมื่อจบหลักสูตรแล้วจะต้องมีงานทำไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้เรียน[/b] จึงทำให้มีการปรับทั้งระบบโครงสร้างหลักสูตรและการจัดการศึกษา [b]โดยองค์ประกอบของหลักสูตรอาชีพ จะต้องประกอบด้วย ๔ องค์ประกอบหลัก[/b] ได้แก่ [b]๑)แนวคิดและช่องทางในอาชีพ[/b] เพื่อปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจและช่องทางหรือโอกาสในอาชีพนั้นๆ [b] ๒)การฝึกทักษะอาชีพ[/b] เน้นการฝึกจากประสบการณ์จริง เช่น วิทยาการต้องเป็นมืออาชีพ เป็นที่ยอมรับหรือมีชื่อเสียง ซึ่งค่าตอบแทนวิทยากร จากเดิมให้ชั่วโมงละ ๒๐๐ บาท เป็น ๑,๒๐๐ บาท เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์จากผู้รู้จริง เกิดแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพต่อไป [b]๓) การบริหารจัดการ [/b]เช่น ต้องเรียนรู้สินค้านั้นมีต้นทุนอะไรบ้าง แหล่งทรัพยากรนั้นอยู่ที่ไหน และการกำหนดราคาเป็นต้น [b]และ๔)การวางแผนธุรกิจ[/b] หมายถึงว่า หลังจบหลักสูตรจะดำเนินธุรกิจได้อย่างไร มีการจัดทำแผนธุรกิจ โดย กศน.จะให้ทุนเริ่มต้นด้วยส่วนหนึ่ง เพื่อให้ผู้จบสามารถประกอบอาชีพนั้นได้จริง ทั้งนี้ ทุกคน รวมทั้งคนพิการก็สามารถเรียนได้โดยไม่จำกัดประเภทและระดับความพิการ [b]หากคนพิการสนใจก็สามารถรวมกลุ่มและเสนอหลักสูตรเฉพาะสำหรับคนพิการได้ โดยให้สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรและระเบียบของ กศน. และถ้าปรับให้สามารถเทียบโอนหน่วยกิตเป็นหลักสูตรสามัญของกศน.ได้[/b] ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์กับคนพิการเพราะสามารถไปพัฒนาต่อยอดการศึกษาสายสามัญได้ด้วย
ภาพ นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย